การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกาเนิดเม็ดเลือดในการรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง
พัทธรา ลีฬหวรงค์
Ph.D (Pharmaceutical Economics and Policy), Ph.D. (Health Economics), Ph.D. (Social and Administrative Pharmacy), ยศ ตีระวัฒนานนท์, วิชช์ เกษมทรัพย์, อุษา ฉายเกล็ดแก้ว
บทคัดย่อ
           วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์เปรียบเทียบระหว่างการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกาเนิดเม็ดเลือดและการให้เลือดร่วมกับยาขับเหล็กในการรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงและประเมินผลกระทบด้านงบประมาณหากมีการบรรจุการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกาเนิดเม็ดเลือดในชุดสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงโดยการวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์และภาระงบประมาณเปรียบเทียบระหว่างการให้เลือดร่วมกับยาขับเหล็กและการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกาเนิดเม็ดเลือดจากผู้บริจาคซึ่งเป็นญาติผู้ป่วยและผู้บริจาคซึ่งไม่ใช่ญาติของผู้ป่วย การวิเคราะห์ต้นทุนและผลลัพธ์ของการรักษาที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตของผู้ป่วยด้วยแบบจาลอง Markovโดยใช้มุมมองทางสังคม ผลลัพธ์ทางสุขภาพในงานวิจัยนี้ คือ ปีสุขภาวะ การประเมินผลกระทบของความไม่แน่นอนของค่าตัวแปรที่ใช้ในแบบจาลองโดยวิธีการวิเคราะห์ความไวแบบ One-way sensitivity analysis และแบบ Probabilisticsensitivity analysis ผลการศึกษา พบว่า อัตราส่วนต้นทุนต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้นของการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกาเนิดเม็ดเลือดจากญาติผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 1-15 ปี มีค่าเท่ากับ 80,700-183,000 บาท และการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกาเนิดเม็ดเลือดจากผู้อื่นที่ไม่ใช่ญาติมีค่าเท่ากับ 209,000-953,000 บาท นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 20 ปีขึ้นไป การให้เลือดร่วมกับยาขับเหล็กชนิดฉีดมีความคุ้มค่ามากกว่าการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกาเนิดเม็ดเลือด หากพิจารณาความเต็มใจที่จะจ่าย 100,000 บาท ต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกาเนิดเม็ดเลือดจากญาติผู้ป่วยมีความคุ้มค่าทางการแพทย์ในผู้ป่วยที่เริ่มการรักษาที่อายุน้อยกว่า 10 ปี แต่การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกาเนิดเม็ดเลือดจากผู้อื่นไม่มีความคุ้มค่า หากพิจารณาความเต็มใจที่จะจ่าย 300,000 บาท การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกาเนิดเม็ดเลือดจากญาติผู้ป่วยและผู้อื่นที่ไม่ใช่ญาติมีความคุ้มค่าทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 17 และ 10 ปี ตามลาดับ ภาระงบประมาณของการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกาเนิดเม็ดเลือดจากญาติผู้ป่วย ในกลุ่มอายุ 1-10 ปีสามารถประหยัดงบประมาณในปีที่3 เป็นต้นไป ในบริบทของประเทศไทยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกาเนิดเม็ดเลือดจากญาติผู้ป่วยในกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อยมีความคุ้มค่าและสามารถประหยัดงบประมาณในระยะยาวได้
ที่มา
ภ.ม. (บริหารเภสัชกิจ) คณะ - มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2552
คำสำคัญ
Thalassemia, Cost-utility analysis, HEMATOPOIETIC STEM CELL TRANSPLANTATION