การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มเปรียบเทียบประสิทธิภาพการระงับปวดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าโดยวิธี adductor canal block ร่วมกับการให้ยามอร์ฟีนตามเวลา เทียบกับ adductor canal block ร่วมกับการให้ยามอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำโดยวิธีผู้ป่วยควบคุมเอง
Piyachat Wannasunthornchai*, Polsri A, Songthamwat Mกลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
บทคัดย่อ
ที่มา: การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ทำเกิดความเจ็บปวดระดับปานกลางถึงรุนแรง Adductor canal block (ADB) ร่วมกับการให้ยามอร์ฟีนโดยวิธีผู้ป่วยควบคุมเอง (patient control analgesia, PCA) ก็เป็นที่ได้รับความนิยมในหลายโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามการใช้งานเครื่องกดยาระงับปวดมีข้อจำกัด
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการระงับปวดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า โดยวิธี adductor canal block ร่วมกับการให้ยามอร์ฟีนตามเวลา กับวิธี adductor canal block ร่วมกับการให้ยามอร์ฟีนทางหลอดเลือดดำโดยวิธีผู้ป่วยควบคุมเอง
วิธีวิจัย: การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบไปข้างหน้า ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด TKA โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมได้รับ ADB ร่วมกับการให้ยามอร์ฟีนโดยวิธี PCA จำนวน 30 คน และกลุ่มศึกษาได้รับ ADB ร่วมกับการให้ยามอร์ฟีนตามเวลา จำนวน 30 คน ประเมินความปวดด้วย verbal numerical rating scale (VNRS) ที่เวลา 6,12, 18, 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัด ประเมินผลข้างเคียง ปริมาณมอร์ฟีนที่ใช้ใน 24 ชั่วโมง และความพึงพอใจของผู้ป่วย การวิเคราะห์ทางสถิติใช้สถิติเชิงพรรณนา unpaired t test หรือ Wilcoxon range sum เปรียบเทียบคะแนนความปวดและอื่นๆกรณีข้อมูลเป็นแบบต่อเนื่อง ใช้สถิติ Pearson chi square หรือ Fisher exact test กรณีที่ข้อมูลเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง
ผลการศึกษา: คะแนนความปวดทั้งในขณะพักและงอเข่าที่ 6,12,24 ชม หลังผ่าตัด ทั้ง 2 วิธีไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ปริมาณมอร์ฟีนที่ใช้ใน 24 ชม แรกหลังผ่าตัดใน กลุ่ม adductor canal block ร่วมกับการให้ยามอร์ฟีน โดยวิธีผู้ป่วยควบคุมเอง สูงกว่ากลุ่ม adductor canal block ร่วมกับการให้ยามอร์ฟีนตามเวลา (P=0.031) ผลข้างเคียงและความพึงพอใจของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
สรุป: การระงับปวดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าโดยวิธี adductor canal block ร่วมกับการให้ยามอร์ฟีนตาม
เวลาได้ผลดีเท่ากับวิธี adductor canal block ร่วมกับการให้ยามอร์ฟีนโดยวิธีผู้ป่วยควบคุมเอง วิธีนี้สามารถนำไปใช้ได้ดีในกรณีมีทรัพยากรจำกัด
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2566, March-April
ปีที่: 49 ฉบับที่ 2 หน้า 101-108
คำสำคัญ
post-operative pain, Total knee arthroplasty, Adductor canal block, intravenous PCA morphine