เปรียบเทียบการใช้ C-MAC D-Blade Videolaryngoscope และ Conventional Blind Technique ในการใส่ Transesophageal Echocardiography Probe
อมร วิจิตรพาวรรณ*, อภิเดช แซ่เล้า, บุญทิวา ปุรินทราภิบาล, วิมล กิ่งสกุล, วิษณุกร ภูทองเงิน
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, 10400 Thailand; E-mail: fluotec@hotmail.com
บทคัดย่อ
บทนำ: ในปัจจุบันมีความนิยมการใช้ transesophageal echocardiography (TEE) ระหว่างการผ่าตัดหัวใจ และหลอดเลือดแดงใหญ่ จากการศึกษาของ Kallmeyer1 และ Daniel2 พบอุบัติการณ์การใส่ TEE probe ไม่สำเร็จร้อยละ 0.18 และ 1.9 ตามลำดับ และมีกรณีศึกษาของ Hirabayashi3 สามารถทำการใส่ TEE probe ได้ง่ายโดยใช้ videolaryngoscope (ชนิด GlideScope) ในผู้ป่วยที่ใส่ TEE probe ยาก จึงเป็นที่มาของแนวทาง การศึกษาการใช้ videolaryngoscope (ชนิด C-MAC D-blade) ที่มีใช้อยู่ว่าน่าจะช่วยทำให้การใส่ TEE probe ได้ง่าย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการใช้ videolaryngoscope ช่วยในการใส่ TEE probe เปรียบเทียบกับ conventional blind technique และติดตามดูภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างที่ใช้อุปกรณ์ชนิดนี้
วิธีการศึกษา: เป็น การศึกษาแบบ randomize control study ในผู้ป่วยที่มาผ่าตัดทางด้านหัวใจและหลอดเลือดแดงใหญ่ จำนวน 30 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม A ใส่ TEE probe ด้วยแบบเทคนิค blind กับกลุ่ม B ใส่ โดยใช้ C-MAC D-blade videolaryngoscope ช่วย ทำการบันทึกจำนวนครั้งที่ใส่ เวลาที่ใช้ในการใส่ ภาวะแทรกซ้อนในช่วงระหว่างใส่ TEE probe
ผลการศึกษา: C-MAC videolaryngoscope ช่วยในการใส่ TEE probe ได้ง่ายและสำเร็จภายในครั้งแรก ทุกราย เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใส่แบบเทคนิค blind แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.483) และใช้เวลาในการใส่นานกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.006) มีความดันเลือดและอัตราชีพจรสูงขึ้น จากค่าพื้นฐานร้อยละ 20 จำนวน 3 และ 6 เหตุการณ์ในกลุ่มเทคนิค blind และ C-MAC D-blade ตามลำดับ และมีริมฝีปากบนแตก 1 ราย ในกลุ่ม C-MAC D-blade
สรุปผลการศึกษา: การใช้ videolaryngoscope ช่วยใส่ TEE probe พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับ conventional blind technique ในแง่ ของเวลาที่ใช้ในการใส่และจำนวนครั้งที่ใส่ โดยที่อาจมีความเสี่ยงของการใช้เครื่องมือชนิดนี้ได
 
ที่มา
วิสัญญีสาร ปี 2558, July-September ปีที่: 41 ฉบับที่ 3 หน้า 179-188
คำสำคัญ
ภาวะแทรกซ้อน, Videolaryngoscope, Transesophageal echocardiography, Probe insertion