การหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่มาทำการผ่าตัดในช่องท้อง
จุฬาลักษณ์ โกมลตรี, กัสมา นิยมพานิชพัฒนา, นิยมพร สาริมา, ยุทธนา อุดมพร, สุณีรัตน์ คงเสรีพงศ์, อรอุมา ชัยวัฒน์*
Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand; Phone: 0-2419-7990, Fax: 0-2411-3256, E-mail: sioca@staff1.mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: จากการศึกษาที่ผ่านมา การหย่าจากเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยวิกฤตทั่วไปโดยวิธี protocol-directed ใช้ระยะเวลาสั้นกว่าวิธี physician-directed การศึกษาแบบไปข้างหน้าโดยการสุ่มนี้เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจระหว่างวิธี protocol based nurse-directed กับวิธี physician-directed ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องวัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยที่ต้องช่วยหายใจหลังการผ่าตัดช่องท้อง 100 คน ถูกสุ่มแยกเป็น 2 กลุ่ม 1) protocol-directed 51 คน 2) physician-directed 49 คน โดยกลุ่ม protocol-directed ได้รับการทำ daily screening และ spontaneous breathing trial โดยพยาบาลการวัดผล: ระยะเวลาที่ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจผลการศึกษา: ระยะเวลาที่ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจโดยวิธี protocol-directed กับวิธี physician-directed มีค่ามัธยฐาน 40 และ 72 ชั่วโมง ตามลำดับ (p < 0.001) ผู้ป่วย 2 ราย ในกลุ่ม protocol-directed และ 3 ราย ในกลุ่ม physician-directed ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำภายใน 72 ชั่วโมง หลังการถอดท่อ (p = 0.61) ไม่มีผู้ป่วยที่ต้องช่วยหายใจนานกว่า 21 วันสรุป: การทำ daily screening และ spontaneous breathing trial โดยพยาบาลในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดช่องท้อง มีระยะเวลาที่ผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจสั้นกว่าวิธี physician-directed
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2553, August ปีที่: 93 ฉบับที่ 8 หน้า 930-936
คำสำคัญ
nursing, Mechanical ventilation, Intensive care unit, Outcomes, Protocol-directed weaning, Weaning