ผลของการบริโภคโสมต่อแลคเตทเทรสโซลในชายไทยสุขภาพดี
ศิริวรรณ ธนาคมสิริโชติ
อรอนงค์ กุละพัฒน์
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการบริโภคโสมต่อแลคเตทเทรสโชลในชายไทยสุขภาพดี กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโครงการศึกษาวิจัยเป็นนักเรียนจ่าพยาบาลจำนวน 60 คน อายุระหว่าง 17-22 ปี ได้ทำการสุ่มตัวอย่างเพื่อแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มโดยการจับสลากประกอบด้วย กลุ่มที่ได้รับโสมจำนวน 30 คน และกลุ่มที่ได้รับสารหลอกจำนวน 30 คน เริ่มต้นทำการทดสอบวัดระดับกรดแลคติคในเลือดด้วยการปั่นจักรยานเพื่อคำนวณหาแลคเตทเทรสโชล และหลังจากบริโภคโสมหรือสารหลอกในปริมาณ 3 กรัมต่อวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ได้ทำการทดสอบเพื่อคำนวณหาแลคแตทเทรสโชลซ้ำตามเดิม รวมทั้งทำการวัดสมรรถภาพการใช้ออกซิเจน และการสร้างคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อคำนวณค่าอัตราการเผาผลาญไขมัน และคาร์โบไฮเดรต โดยผลข้อมูลของแลคเตทเทรสโชลที่นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้สถิติ ANCOVA ผลการศึกษาพบว่า ค่าแลคเตทเทรสโชล ค่าอัตราการเผาผลาญไขมันและคาร์โบไฮเดรต ค่าความดัน systolic และ diastolic ขณะพัก ค่างานสูงสุด และค่าเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการทดสอบสมรรถภาพทางกายในกลุ่มที่ได้รับโสมมีค่าไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับสารหลอก และไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติจากการวัดการทำงานของตับ และไตหลังการบริโภคโสม สรุปได้ว่าการบริโภคโสมในปริมาณ 3 กรัมต่อวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแลคเตทเทรสโชลสมรรถภาพทางกาย อัตราการเผาผลาญไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในขณะออกกำลังกายในนักเรียนจ่าพยาบาล
ที่มา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะ เวชศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2547
คำสำคัญ
ยาหลอก, แลคเตทเทรสโซล, โสม