ประสิทธิผลของยาแทมซูโลซินในการรักษาอาการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติของผู้หญิง
นิธิ ภุมมางกูร
เทวารักษ์ วีระวัฒกานนท์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของยารับประทานแทมซูโลซิน ในการรักษาอาการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติของผู้หญิง รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม สถานที่ทำการวิจัย: โรงพยาบาลรามาธิบดี วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยหญิงที่เข้ามารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลรามาธิบดีและเข้าเกณฑ์การคัดเลือก 150 ราย ได้รับการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีการสุ่ม กลุ่มแรก ได้รับยาแคปซูลแทมซูโลซิน 0.2 มิลลิกรัม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับยาหลอก ทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับยาเป็นเวลา 1 เดือน โดยรับประทานยาวันละ 1 ครั้งก่อนนอน ประเมินผลการรักษาโดยคะแนนแบบสอบถามการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ อัตราการไหลของปัสสาวะก่อนและหลังให้ยา และภาวะแทรกซ้อนหลังการให้ยา ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ย (SD) ความแตกต่างของคะแนนแบบสอบถามก่อนและหลังให้ยาเท่ากับ -5.2 (6.1) ในกลุ่มยาแทมซูโลซิน และ -2.8 (6.0) ในกลุ่มยาหลอก โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (exact p-value = 0.042) ค่าเฉลี่ย (SD) ความแตกต่างของอัตราการไหลของปัสสาวะก่อนและหลังให้ยาเท่ากับ 0.6 (2.6) มิลลิลิตรต่อวินาที ในกลุ่มยาแทมซูโลซิน และ -0.6 (2.5) มิลลิลิตรต่อวินาที ในกลุ่มยาหลอก โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (exact p-value = 0.008) ในส่วนของภาวะแทรกซ้อนหลังการให้ยาพบอาการมึนงงและอ่อนเพลียในกลุ่มที่ได้รับยาแทมซูโลซิน 2 ราย และไม่พบภาวะแทรกซ้อนใดๆ ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก สรุป: ยาแคปซูลแทมซูโลซินมีประสิทธิผลสูงกว่ายาหลอกในการรักษาอาการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติของผู้หญิง และควรเลือกใช้ยาแคปซูลแทมซูโลซินในผู้หญิงที่มีอาการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติเฉพาะราย
ที่มา
Master of Science คณะ Health Development จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2547
คำสำคัญ
tract, Tamsulosin, Diseases, organs, infections, disorders, urinary, Urination