การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของการเฝ้าระวังการติดเชื้อ เอช ไอ วี ณ จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2542
กมลชนก เทพสิทธา
Pirom Kamolratanakul
บทคัดย่อ
วิเคราะห์ต้นทุน ประสิทธิผล และต้นทุน-ประสิทธิผล ในรูปของต้นทุนเฉลี่ยต่อการตรวจพบเชื้อ HIV 1 ราย จากการเฝ้าระวังการติดเชื้อ HIV จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2542 ในมุมมองของผู้ให้บริการ ซึ่งมีการเฝ้าระวังในประชากร 6 กลุ่ม โดยใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลย้อนหลังจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี และโรงพยาบาลศูนย์สรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเฝ้าระวังการติดเชื้อ HIV และดำเนินงานในเดือนมิถุนายน 2542 ได้แบ่งหน่วยต้นทุนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ หน่วยต้นทุนทางตรงและหน่วยต้นทุนทางอ้อม โดยใช้เกณฑ์การกระจายต้นทุนแบบสมการเส้นตรง (Simultaneous Equation Method) ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนเฉลี่ยต่อครั้งของการตรวจการติดเชื้อ HIV ที่เกิดกับผู้ให้บริการในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเท่ากับ 3,544.33 บาท/ครั้ง กลุ่มโลหิตบริจาคเท่ากับ 3,088.56 บาท/ครั้ง กลุ่มหญิงที่มาฝากครรภ์เท่ากับ 2,915.81 บาท/ครั้ง กลุ่มหญิงขายบริการทางเพศโดยตรง เท่ากับ 2,793.42 บาท/ครั้ง กลุ่มชายที่มาตรวจกามโรค เท่ากับ 513.85 บาท/ครั้ง และกลุ่มหญิงขายบริการทางเพศโดยแฝง เท่ากับ 499.98 บาท/ครั้ง ส่วนต้นทุน-ประสิทธิผล ซึ่งวิเคราะห์ในรูปแบบต้นทุนเฉลี่ยต่อการตรวจพบเชื้อ HIV 1 ราย พบว่า กลุ่มที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด คือ กลุ่มหญิงขายบริการทางเพศโดยแฝง คือมีค่าอัตราส่วนต้นทุน/ประสิทธิผล เท่ากับ 7,272.44 บาท กลุ่มชายที่มาตรวจกามโรค เท่ากับ 8,564.08 บาท กลุ่มหญิงขายบริการทางเพศโดยตรง เท่ากับ 11,732.34 บาท กลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีด เท่ากับ 23,628.86 บาท และกลุ่มโลหิตบริจาค เท่ากับ 933,626.35 บาท ตามลำดับ จากการศึกษานี้ สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจ สำหรับการบริหารจัดการงบประมาณ ด้านการเฝ้าระวังการติดเชื้อ HIV ในประชากรกลุ่มเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ที่มา
M.Sc. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2542
คำสำคัญ
Health, effectiveness, Cost, HIV, infections, Public, surveillance