การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้ยานอร์ทริปทัยรินกับการให้คำแนะนำผู้ป่วยในการช่วยเลิกสูบบุหรี่
ฉันชาย สิทธิพันธุ์
ธานินทร์ อินทรกำธรชัย
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการเลิกสูบบุหรี่สำเร็จที่เวลา 3 เดือนภายหลังการช่วยให้ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่หยุดสูบบุหรี่ ด้วยการใช้ยานอร์ทริปทัยรินร่วมกับการให้คำปรึกษาอย่างสั้น เปรียบเทียบกับการให้คำปรึกษาอย่างสั้นอย่างเดียวในการรักษาภาวะสูบบุหรี่ในคนไทย รูปแบบการทดลอง: การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่ม สถานที่ทำการวิจัย: คลินิกอดบุหรี่ หน่วยโรคปอด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยที่สุบบุหรี่ที่ต้องการได้รับการรักษาเพื่อเลิกสูบบุหรี่ ที่มารับการรักษาที่คลินิกอดบุหรี่ ที่อายุเกิน 18 ปี และสูบบุหรี่มากกว่า 10 มวนต่อวัน และเข้าในเกณฑ์รับเข้าการวิจัยและยินยอมเข้าร่วมการวิจัย จะได้รับการสุ่มให้ได้รับรักษาด้วยการใช้ยานอร์ทริปทัยริน ร่วมกับการให้คำปรึกษาอย่างสั้น หรือยาหลอกร่วมกับการให้คำปรึกษาอย่างสั้น และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินการหยุดสูบบุหรี่หลังจากการรักษาเป็นเวลาสามเดือน เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยสามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ติดต่อกัน ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 137 ราย โดย 68 รายอยู่ในกลุ่มควบคุมและ 69 รายอยู่ในกลุ่มทดลอง พบว่าผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันในด้านข้อมูลพื้นฐาน ภายหลังการทดลองพบว่า ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีอัตราการเลิกสูบบุหรี่ที่สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (43.5% vs 26.5%, p = 0.014, OR = 2.5% CI 1.19-5.25) และพบว่าในกลุ่มทดลองมีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรงคือ ปากแห้ง มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: การใช้ยานอร์ทริปทัยรินร่วมกับการให้คำปรึกษาอย่างสั้น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ ทำให้ผู้ป่วยสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สูงกว่า การให้คำปรึกษาอย่างสั้นเพียงอย่างเดียว ภายหลังการรักษา 3 เดือน โดยมีผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงสูงกว่าเล็กน้อย
ที่มา
M.Sc จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2548
คำสำคัญ
Counseling, Smoking, cessation, Nortriptyline