การศึกษาโดยใช้สุ่มตัวอย่างแบบแฟคตอเรียลในการใช้ยาอีโธริคอกซิบร่วมกับยาฟลาโวเสดเพื่อลดปริมาณการใช้ยามอร์ฟีนในระยะหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยวิธีส่องกล้อง
ศิริลักษณ์ สุขสมปอง
สมรัตน์ จารุลักษณานันท์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการใช้ยาอีโธริคอกซิบ ยาฟลาโวเสด และการใช้ยาทั้ง 2 ร่วมกันเพื่อลดปริมาณการใช้ยามอร์ฟีนในระยะหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยวิธีส่องกล้อง รูปแบบการศึกษา: โดยใช้สุ่มตัวอย่างแบบแฟคตอเรียล ปกปิดอาสาสมัครและผู้ประเมิน สถานที่ทำการวิจัย: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยจำนตวน 96 คนที่ให้คำยินยอมเข้าร่วมการศึกษาจะได้รับการสุ่มเป็น 4 กลุ่มเพื่อทำการศึกษา โดยผู้ป่วยกลุ่มที่ 1 ได้รับยาหลอก ผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 ได้รับยาอีโธริคอกซิบ ผู้ป่วยกลุ่มที่ 3 ได้รับยาฟลาโวเสด ผู้ป่วยกลุ่มที่ 4 ได้รับยาทั้ง 2 ชนิด ในระยะ 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดผู้ป่วยทุกรายจะได้รับยามอร์ฟีนบริหารทางหลอดเลือดดำ โดยวิธีที่ผู้ป่วยควบคุมด้วยตนเองเป็นยาบรรเทาอาการปวดหลังผ่าตัด การศึกษาครั้งนี้บันทึกปริมาณยามอร์ฟีน คะแนนความเจ็บปวด และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด ผลการศึกษา: ปริมาณการใช้ยามอร์ฟีนในระยะ 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดผู้ป่วยกลุ่ม 1, 2, 3 และ 4 เท่ากับ 16.1 + 9.3, 6.0+7.4, 4.46+5.7 และ 6.5 มก ตามลำดับ (p<0.001) โดย กลุ่ม 1 มีปริมาณการใช้ยามอร์ฟีนมากกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาโดยวิธีแฟคตอเรียลพบว่ายาอีริคอกซิบ และยาฟลาโวเสดมีผลลดปริมาณการใช้ยามอร์ฟีนในระยะหลังผ่าตัด แต่มีเพียงผลของยาอีริคอกซิบเท่านั้นที่ลดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ป่วยทั้ง 4 กลุ่มมีค่าคะแนนความเจ็บปวดไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: การรับประทายาอีริคอกซิบครั้งเดียว หรือ ยาฟลาโวเสด ก่อนการผ่าตัด สามารถลดปริมาณการใช้ยามอร์ฟีนในระยะ 24 ชั่วโมงได้เท่ากับการใช้ยาทั้ง 2 ชนิดร่วมกันในการหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยวิธีส่องกล้อง
ที่มา
M.Sc. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2548