การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคลมชักที่ได้รับการผ่าตัดและไม่ได้รับการผ่าตัดในโครงการรักษาผู้ป่วยลมชักครบวงจร ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
รัศริน กาสลัก
Atapol Sughondhabirom
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยโรคลมชักที่ได้รับการผ่าตัด โดยศึกษาในผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาที่โครงการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทั้งหมดจำนวน 120 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัด (กลุ่มศึกษา) จำนวน 60 คน และกลุ่มที่ไม่ได้รับการผ่าตัด(กลุ่มควบคุม) จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมนคุณภาพชีวิต WHOQOL-BREF-THAI) และแบบวัดระดับความรุนแรงของอาการซึมเศร้า (Hamilton Rating Scale for Depression) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, One0way ANOVA, Pearsons product moment correlation coefficient และการพยากรณ์โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรลมชักที่ได้รับการผ่าตัดและไม่ได้รับการผ่าตัด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อายุและคุณภาพชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวก ขณะที่ระยะเวลาการเจ็บป่วยและภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิต การได้รับและไม่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
ที่มา
M.Sc จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2548