การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรง ชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง
อังคาร ศรีชัยรัตนกูลNipatt Karnjanathanalers
บทคัดย่อ
ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเฉียบพลัน และผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเรื้อรัง ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเฉียบพลัน และผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเรื้อรัง โดยศึกษาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงจำนวน 217 คน ที่มารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา และโรงพยาบาลศรีธัญญา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ 1) แบบประเมินคุณภาพชีวิต 2) แบบวัดระดับความรุนแรงของอาการซึมเศร้า ค่าสถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดย Chi-square test, Mann-Withney, correlation, multiple linear regression ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSs/PC+ ผลการศึกษา ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเฉียบพลัน จำนวน 43 คน และผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเรื้อรัง จำนวน 174 คน พบว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเฉียบพลัน (คะแนนคุณภาพชีวิตเฉลี่ย = 172.88) และผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเรื้อรัง (คะแนนคุณภาพชีวิตเฉลี่ย = 220.43) ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเฉียบพลันคือ ระดับความรุนแรงของอาการซึมเศร้า และการมีปัญหาค่าใช้จ่ายในการรักษา โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ p<0.05 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเรื้อรังคือ การมีปัญหาครอบครัว ระยะเวลาการป่วย และระดับความรุนแรงของอาการซึมเศร้า โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05
ที่มา
M.Sc
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปี 2543
คำสำคัญ
of, Depression, Quality, life