เปรียบเทียบต้นทุน-ประสิทธิผลการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่
สุชัญญา มานิตย์ศิริกุล, โกเมศ อุนรัตน์, ไพโรจน์ พรหมพันใจ, ญาดา โตอุตชนม์
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุน-ประสิทธิผลของการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่  ระหว่างการสำรวจหมู่บ้านแบบเร็ว (Rapid  Village  Survey,RVS) และการค้นหาโดยกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน  2543 – พฤษภาคม  2544 สุ่มตัวอย่างโดยวิธี  Multi  stage  sampling technique  ได้พื้นที่ดำเนินการคืออำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์  เครื่องมือที่ใช้คือการค้นหา ผู้ป่วยรายใหม่ทั้ง 2 วิธี  แบบสัมภาษณ์  และรายงานทางการเงิน  สถิติที่ใช้ในการศึกษาเป็นสถิติเชิงวิเคราะห์                ผลการศึกษาพบว่า  ต้นทุนรวมของการสำรวจหมู่บ้านแบบเร็วเท่ากับ 58586.95 บาท  พบ      ผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 3 ราย  ต้นทุน-ประสิทธิผลเท่ากับ  19528.9  บาท ต่อผู้ป่วย 1 ราย  ต้นทุนรวมของการค้นหาโดยกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านเท่ากับ 16,409  บาท  แต่ไม่พบผู้ป่วยไม่สามารถประเมินต้นทุน-ประสิทธิผลได้  ภายหลังมีการตรวจสอบความครอบคลุมของการค้นหาทั้ง 2 วิธีด้วยวิธีมาตรฐาน     ในพื้นที่ที่ดำเนินการโดยวิธี RVS ไม่พบผู้ป่วยใหม่  แต่ในพื้นที่ที่ดำเนินการโดยกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านพบผู้ป่วยใหม่ 1 รายแม้ว่าต้นทุน-ประสิทธิผลของวิธี RVS จะสูงกว่าวิธีค้นหาโดยกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านก็ตาม   ให้พิจารณาถึงการเสียโอกาสของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาและเกิดความพิการตามมาในภายหลัง     ดังนั้นควรจะได้คำนึงถึงความเหมาะสมในแต่ละวิธีการ
ที่มา
ปี 2545