การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมระดับน้อยและปานกลางด้วยยากลูโคซามีนซัลเฟตเกลือโปแตสเซียมคลอไรด์ กับยากลูโคซามีนซัลเฟตเกลือโซเดียมคลอไรด์:แบบสุ่มและปกปิดสองทาง
ยงศักด์ิ หวังรุ่งทรัพย์*, วัชระ วิไลรัตน์, สีหธัช งามอุโฆษ, อารี ตนาวลีDepartment of Orthopedic Surgery, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand. E-mail: Roong_57@hotmail.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: กลูโคซามีนซัลเฟตได้รับการยอมรับเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม แต่เนื่องจากยานี้มีส่วนประกอบและการผลิตที่แตกต่างกัน อาจทำให้ผลการรักษามีความแตกต่างกันวัตถุประสงค์: เปรียบเทียบผลการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยยากลูโคซามีนซัลเฟตเกลือโปแตสเซียมคลอไรด์ กับยากลูโคซามีนซัลเฟตเกลือโซเดียมคลอไรด์ รวมทั้งติดตามความปลอดภัยในการใช้ยาทั้งสองชนิดวัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมระดับน้อยและปานกลางที่ผ่านการคัดกรองจำนวน 100 ราย ถูกสุ่มเพื่อรับยากลูโคซามีนซัลเฟตเกลือโปแตสเซียมคลอไรด์วันละ 1,500 มิลลิกรัม หรือ ยากลูโคซามีนซัลเฟตเกลือโซเดียมคลอไรด์วันละ 1,500 มิลลิกรัม รายละ 16 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะได้รับการนัดตรวจและรับยาทุก 4 สัปดาห์ รวมทั้งวันสุดท้ายของการรักษารวม 5 ครั้ง ทั้งผู้ป่วยและผู้ประเมินผลการรักษาจะถูกปกปิดชนิดของยาที่ใช้การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาทั้งสองกลุ่มจากคะแนน WOMAC, SF-36 รวมทั้งการให้ผู้ป่วยประเมินความพึงพอใจของการรักษาในการตรวจครั้งสุดท้ายด้วย การเปรียบเทียบความปลอดภัยของยาทั้งสองกลุ่มจากการตรวจเลือดติดตามระดับของ BUN, Cr, electrolyte, SGOT, SGPT และ ESR รวมทั้งการติดตามอาการข้างเคียงจากการใช้ยาทั้งสองกลุ่มผลการศึกษา: ยาทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมได้ โดยคะแนน WOMAC, SF-36 ดีขึ้นจากการติดตามผลการรักษาครั้งที่ 3 และ 5 แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาการตรวจเลือด พบว่าระดับของโปแตสเซียมสูงขึ้นในกลุ่มที่ใช้ยากลูโคซามีนซัลเฟตเกลือโปแตสเซียมคลอไรด์ แต่ไม่เกินค่าปกติ อาการข้างเคียงของการรักษาไม่แตกต่างกันในสองกลุ่มสรุป: จากการศึกษาพบว่ายาทั้งสองกลุ่มมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม และมีความปลอดภัยในการรักษาไม่แตกต่างกัน
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2553, July
ปีที่: 93 ฉบับที่ 7 หน้า 805-811
คำสำคัญ
SF-36, osteoarthritis, Knee, Ahlback, Glucosamine sulfate, WOMAC