การศึกษาเปรียบเทียบความเจ็บปวด และพยาธิภาวะระหว่าง และหลังการผ่าตัดต่อมทอนซิลโดยใช้ microdebrider และ cold instrument dissection
กชพร วงษ์สุวรรณ, จรรยา วงศ์กิตติถาวร, โกวิทย์ พฤกษานุศักดิ์*
Department of Otolaryngology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla 90110, Thailand. Phone: 074-451-390-1, Fax:074-429-620. E-mail: pkowit1964@yahoo.com
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: การผ่าตัดทอนซิลเป็นหัตถการที่ทำบ่อยในผู้ป่วยเด็ก ก่อให้เกิดความเจ็บปวดในระดับปานกลางถึงมาก การผ่าตัดโดยวิธีอนุรักษ์เปลือกหุ้มของทอนซิลที่ติดกับผนังคอหอยด้วย microdebrider น่าจะลดความเจ็บปวดหลังผ่าตัดได้มากกว่าวิธี cold dissection ซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมโดยการผ่าตัดทอนซิลออกทั้งหมดวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความเจ็บปวด และพยาธิภาวะระหว่างและหลังผ่าตัดทอนซิล ในการผ่าตัดโดยวิธี microdebrider-assisted intracapsular tonsillectomy เปรียบเทียบกับวิธี conventional cold dissection tonsillectomyวัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบ randomized controlled trial ในผู้ป่วยเด็กที่มีทอนซิลโต อายุ 3-14 ปี จำนวน 40 คน ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 ถึง 1 เมษายน พ.ศ. 2550 โดยถูกสุ่มแบ่งเป็นข้างละ 20 คน ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธี microdebrider-assisted intracapsular tonsillectomy เป็นกลุ่มศึกษากับวิธี conventional cold dissection tonsillectomy เป็นกลุ่มควบคุม เก็บข้อมูลระยะเวลาการผ่าตัด การเสียเลือดระหว่างผ่าตัด ระยะเวลาที่เริ่มรับประทานอาหารได้ ระยะเวลานอนโรงพยาบาล ความพึงพอใจต่อ วิธีการผ่าตัดและคะแนนด้านความเจ็บปวดหลังผ่าตัดขณะกลืนน้ำลาย และหลังได้รับยาแก้ปวดเป็นระยะเวลา 7 วัน และติดตามภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดผลการศึกษา: เวลาที่ใช้ในการผ่าตัด ระยะเวลาที่เริ่มรับประทานอาหารได้ ปริมาณยาแก้ปวดที่ได้รับระยะเวลานอนโรงพยาบาล ความพึงพอใจต่อวิธีการผ่าตัดทั้ง 2 วิธีนี้ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ปริมาณเลือดที่ออกระหว่างการผ่าตัดในกลุ่มศึกษา (54.3 ±  35.45 mL) มากกว่ากลุ่มควบคุม (14.78 ±  18.71 mL) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) คะแนนความเจ็บปวดหลังผ่าตัดขณะกลืนน้ำลายของทั้ง 2 กลุ่ม ที่วันที่ 0, 1, 4, 5 และ 6 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่กลุ่มศึกษามีคะแนนความเจ็บปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมในวันที่ 2 (2.50 ±  1.15 และ 1.05 ± 0.83) และ 3 (1.70 ±  0.80 และ 1.05 ±  0.76) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =0.005 และ p = 0.018 ตามลำดับ) คะแนนความเจ็บปวดหลังได้ยาแก้ปวดในกลุ่มศึกษา (2.45± 0.94) มีน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (3.40 ± 1.47) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.024) ในวันที่ 0 แต่ไม่แตกต่างกันในวันที่ 1-6 สำหรับยาแก้ปวด fentanyl ทั้งสองกลุ่มได้รับไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบภาวะเลือดออกหลังผ่าตัดและไม่มีผู้ป่วยหายไประหว่างการติดตามการรักษาสรุป: การผ่าตัดทอนซิลในถุงหุ้มด้วย microdebrider เป็นวิธีการปฏิบัติทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ สำหรับเด็กที่มีการโตเกินของทอนซิลและผลลัพธ์เกี่ยวกับความเจ็บปวดหลังผ่าตัดดีขึ้น แต่มีการสูญเสียเลือดระหว่างผ่าตัดมากกว่า
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2553, May ปีที่: 93 ฉบับที่ 5 หน้า 558-565
คำสำคัญ
postoperative pain, Cold dissection tonsillectomy, Microdebrider-assisted intracapsular tonsillectomy, Tonsillar hypertrophy