คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษา ในวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
กาญจนา ศิริเจริญวงศ์, กาญจนี องค์วรานนท์, ภัสพร ขำวิชา*
ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์
บทคัดย่อ
 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษา หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการ ได้แก่ ด้านผู้ป่วย ครอบครัว โรคและการรักษากับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษา และศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษา และศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับรักษาสีรักษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษาในวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล จำนวน 80 คน เลือกโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามลักษณะส่วนบุคคล และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความสัมพันธ์เพียร์สันและการถดถอยพหุแบบขั้นตอนผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาอยู่ในระดับปานกลาง ( X=132.7, S.D.=43.1) โดยมีความผาสุกด้านร่างกายและความผาสุกด้านสังคมอยู่ในระดับดี (X= 23.0, S.D.=11.6 และ (X=26.4, S.D.=14.2 ตามลำดับ) ส่วนความผาสุกด้านจิตใจและความผาสุกด้านจิตวิญญาณอยู่ในระดับปานกลาง (X= 50.4, S.D.=21.3 และ (X=33.2, S.D.=13.4 ตามลำดับ)  ปัจจัยด้านครอบครัว ได้แก่การสนับสนุนทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.2318. p=.039) การสนับสนุนทางอารมณ์เป็นตัวแปรที่สามารถอธิบายความผันแปรคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษาได้ร้อยละ 5.4 (R2 =.054) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการสนับสนุนทางอารมณ์ที่ดีจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ดังนั้นพยาบาล  เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ และญาติผู้ป่วยควรให้การสนับสนุนทางอารมณ์แก่ผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งได้รับรังสีรักษามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2543, October-December ปีที่: 18 ฉบับที่ 4 หน้า 51-60
คำสำคัญ
Quality of life, Radiotherapy, Cancer patient