ผลการหล่อลื่นด้วยว่านหางจระเข้ในการใส่สายสวนปัสสาวะ
กรองแก้ว หาญพานิชย์, นลินทิพน์ ตำนานทอง, รัตนา ทวีแสงสุขสกุล*, รุ่งทิวา ชอบชื่น, วิจิตร เกิดผล
Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: 1. ศึกษาผลการหล่อลื่นในการใส่สายสวนปัสสาวะด้วยเจลว่านหางจระเข้เปรียบเทียบกับ KY jelly  2.ศึกษาอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจาการใช้เจลว่านหางจระเข้และ KY jelly เป็นสารหล่อลื่นในการใส่สายสวนปัสสาวะ 3. คำนวณความคุ้มค่าของการใช้เจลว่านหางจระเข้ เปรียบเทียบกับ KY jellyรูปแบบการวิจัย: double blind, prospective randomized control trial, cross over design และได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยของแก่นแล้วกลุ่มศึกษาและวิธีการวิจัย: ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และมีปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะ จำเป็นต้องสวนปัสสาวะเป็นระยะ เปรียบเทียบผลการหล่อลื่นในการใส่สายสวนปัสสาวะด้วยเจลว่านหางจระเข้กับ KY jelly โดยประเมินจากระยะเวลาที่ใช้ในการสวนปัสสาวะ คะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยและพยาบาลผู้สวนปัสสาวะ และบันทึกอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 10 คนเป็นเพศชาย 4 คน อายุเฉลี่ย 48.33 ปี และเพศหญิง 6 คน อายุเฉลี่ย 51.5 ปี เวลาที่ใช้เจลว่านหางจระเข้สวนปัสสาวะมีค่า 3-37.4 วินาที (เฉลี่ย 12.36±11.7 วินาที), เวลาที่ใช้ KY jelly สวนปัสสาวะมีค่า 4-48 วินาที (เฉลี่ย 13.06±14.53 วินาที), ความพึงพอใจของผู้ป่วยและพยาบาลขณะใส่สายสวนปัสสาวะด้วยเจลว่านหางจระเข้มีคะแนน 3-9 (เฉลี่ย 6.70±2.36) และ 2-9 (เฉลี่ย 5.80±2.62) ตามลำดับ, ความพึงพอใจของผู้ป่วยและพยาบาลขณะใส่สายสวนปัสสาวะด้วย KY jelly มีคะแนน 5-10 (เฉลี่ย 7.80±1.93) และ 4-10 (เฉลี่ย 7.80±2.20) ตามลำดับสรุป: ผลการหล่อลื่นในการใส่สายสวนปัสสาวะด้านว่านหางจระเข้ รวมทั้งความพึงพอใจของผู้ป่วยและพยาบาล เปรียบเทียบกับการใช้ KY jelly แล้วไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและไม่มีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นหลังจากการใช้เจลทั้งสองชนิด
ที่มา
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ปี 2548, May ปีที่: 15 ฉบับที่ 2 หน้า 113-118
คำสำคัญ
Aloe vera gel, aloe, KY jelly, Lubrication, Urethral catheterization, การสวนทางท่อปัสสาวะ, การหล่อลื่น, เจลว่านหางจระเข้