การเปรียบเทียบผลการรักษา myofascial trigger point โดยการใช้ dry needling และการฉีด 1%xylocaine ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อคอและหลังส่วนบน
กฤษณา พิรเวช, นฤมล กมลสวัสดิ์*
Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษา myofascial trigger point ในผู้ป่วย  acute และ subacute myofascial pain syndrome บริเวณกล้ามเนื้อคอและหลังส่วนบน โดยการใช้  dry needling เปรียบเทียบกับการฉีด 1% xylocaine without adrenalineรูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงทดลองแบบไปข้างหน้าสถานที่ทำวิจัย: แผนกผู้ป่วยนอก ตึก ภปร. ชั้น 5 ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ประชากรและวิธีการศึกษา: ศึกษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อคอและหลังส่วนบน ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนที่มา รับการตรวจที่ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู ตั้งแต่เดือนกันยายน 2545 ถึงเดือนสิงหาคม 2546 แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีการสุ่ม กลุ่มที่ 1 รักษาโดยใช้ dry needing กลุ่มที่ 2 รักษาโดยการฉีด 1% xylocaine without adrenaline ทำการประเมิน paint score โดยใช้ VAS (0-10) ประเมินพิสัยการเคลื่อนไหวของคอโดยใช้  goniometer และประเมินคุณภาพชีวิตด้วยแบบสอบถาม SF-36 โดยประเมินก่อนและหลังการรักษาสัปดาห์ที่ 2, 4, 8 และ 12 ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อคอและหลังส่วนบน ที่ได้รับการรักษา myofascial trigger point  โดยการใช้ dry needling  จำนวน 22 ราย และโดยการฉีด 1% xylocaine pain score  จำนวน 21 ราย เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุเฉลี่ย, ระยะเวลาของการปวดและอาชีพของทั้งสองกลุ่มไม่มีความหมายแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังได้รับการรักษาพบว่าทั้ง 2 กลุ่มมีค่า pain score ลดลง และพิสัยการเคลื่อนไหวของคอเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสัปดาห์ที่ 2, 4, 8 และ 12 แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value > 0.05) ส่วนการประเมินคุณภาพชีวิต (SF-36) พบว่าหลังการรักษาผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนให้การรักษา (p value > 0.05) กลุ่มที่ได้รับการรักษาโดยใช้ dry needling มี post injection soreness ระยะเวลาเฉลี่ย 1.82±0.731 วัน ซึ่งนานกว่ากลุ่มที่รักษาโดยการฉีด 1% xylocaine  (p value < 0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value <0.05)สรุป: ผลการรักษา  myofascial trigger point  ในผู้ป่วย myofascial pain syndrome บริเวณกล้ามเนื้อคอและหลังส่วนบนโดยการใช้ dry needling และการฉีด 1% xylocaine ให้ผลไม่แตกต่างกัน แต่ในกลุ่มที่ใช้ dry needling มี post injection soreness ในระยะเวลาที่นานกว่า
ที่มา
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ปี 2548, May ปีที่: 15 ฉบับที่ 2 หน้า 88-100
คำสำคัญ
Dry needling, Myofascial pain syndrome, Trigger point, Xylocaine