คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกระยะลุกลามเฉพาะที่ที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดคาร์โบพลาตินร่วมกับรังสีรักษา
กัญญารัตน์ ชูชาติ*, ดวงใจ แสงถวัลย์, ธนเดช เดชาพันธุ์กุล, ภัทรพิมพ์ สรรพวีรวงศ์, โกวิทย์ พฤกษานุศักดิ์
Department of Otolaryngology Head and Neck Surgery, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla, 90110, Thailand. E-mail: ckanyara@medicine.psu.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาคุณภาพชีวิต (Quality of life) ผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกระยะลุกลาม ก่อน-ระหว่างและหลังรับการรักษาด้วยรังสีรักษาร่วมกับยาคาร์โบพลาตินวัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกระยะ III-IV จำนวน 50 ราย ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ได้รับยาคาร์โบพลาตินร่วมกับรังสีรักษา ผู้ป่วยประเมินคุณภาพชีวิตตนเอง ก่อน-ระหว่างและหลังการรักษาครบ 1 เดือน โดยใช้เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ภาษาไทย จำนวน 26 ข้อ สถิติที่ใช้ คือ Mcnemar testผลการศึกษา: 2 ใน 3 เป็นเพศชาย ร้อยละ 44 เป็นระยะ III ร้อยละ 56 เป็นระยะ IV ผลการประเมิน QOL 4 ด้าน พบว่า QOLที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือ ด้านร่างกายในระดับดีก่อนการรักษา ร้อยละ 26 ส่วนระหว่างการรักษาลดลง เหลือร้อยละ 2 และหลังการรักษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6 ส่วน QOL โดยรวมทุกด้านระดับไม่ดีเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2 ขณะก่อนรับการรักษาเป็นร้อยละ 14 ในขณะรับการรักษา ส่วนด้านอื่นๆ เช่น จิตใจ สัมพันธภาพทางสังคม สิ่งแวดล้อม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: ผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกที่รับการรักษาด้วยยาคาร์โบพลาตินร่วมกับรังสีรักษา มี QOL ด้านร่างกาย โดยรวมลดลงขณะรับการรักษาและดีขึ้นเมื่อสิ้นสุด การรักษาครบแล้ว 1 เดือน ในขณะที่ QOL ด้านอื่นๆไม่เปลี่ยนแปลง
ที่มา
สงขลานครินทร์เวชสาร ปี 2553, May-June ปีที่: 28 ฉบับที่ 3 หน้า 127-137
คำสำคัญ
Carboplatin, คุณภาพชีวิต, คาร์โบพลาติน, มะเร็งหลังโพรงจมูก, Quality of life, Concurrent chemoradiotherapy, Nasopharyngeal cancer