ความร่วมมือในการปฏิบัติตนระหว่างการรักษาและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์
นฤภัย สมฤดี*, วันชัย ธรรมสัจการ, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี
Faculty of Medicine,Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla 90110, Thailand. E-mail: pnaroupa@medicine.psu.ac.th
บทคัดย่อ
                การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความร่วมมือในการปฏิบัติตนระหว่างการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการปฏิบัติตนดังกล่าว 3)คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ก่อน-หลังรับประทานไอโอดีน-131 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ลงทะเบียนรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วยวิธีไอโอดีน-131  ablation ในขนาด 30 มิลลิคิวรี ที่หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จำนวน 138 ราย ผู้วิจัยสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 2 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน แบบสัมภาษณ์จัดทำโดยผู้วิจัย ประกอบด้วยแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการรักษา การปฏิบัติตน และการลดการแผ่กระจายรังสี ปัจจัยด้านการรับรู้ และความร่วมมือในการปฏิบัติตนตามคำแนะนำ การวัดคุณภาพชีวิตใช้แบบวัด The Functional Assessment of Cancer Therapy-General (FACT-G) ฉบับภาษาไทย                ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตนก่อน-หลังรับประทานไดโอดีน-131 และการลดการแผ่กระจายรังสีตามคำแนะนำได้อย่างถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90 ตัวแปรที่ทำให้มีความร่วมมือในการปฏิบัติตนก่อนรับประทานไดโอดีน-131 คือ ความรู้เรื่องการปฏิบัติตน การผ่านการรักษาด้วยไอโอดีน-131 มาก่อนและการศึกษาตัวแปรที่ทำให้มีความร่วมมือในการปฏิบัติตนหลังรับประทานไอโอดีน-131 คือ ความรู้เรื่องวิธีปฏิบัติตน และการศึกษา ส่วนตัวแปรที่ทำให้มีความร่วมมือในการลดการแผ่กระจายรังสี คือ ความรู้ในวิธีการปฏิบัติตน ความผาสุกทางด้านสังคม/ครอบครัว และความผาสุกทางด้านอารมณ์ จิตใจมีค่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังรับประทานไอโอดีน-131
ที่มา
สงขลานครินทร์เวชสาร ปี 2553, March-April ปีที่: 28 ฉบับที่ 2 หน้า 81-88
คำสำคัญ
คุณภาพชีวิต, มะเร็งต่อมไทรอยด์, adherence, ความร่วมมือในการปฏิบัติตน, Quality of life, Thyroid cancer, Treatment adherence