การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดทอลซิลด้วยวิธีโคเบลชั่นและวิธีจี้ไฟฟ้า
พิชัย พัวเพิ่มพูลศิริ
Department of Otolaryngology, BMA Medical College and Vajira Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดหลังผ่าตัดทอนซิลด้วยวิธีโคเบลชั่นและวิธีจี้ไฟฟ้ารูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบสุ่มปกปิดมีกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยจำนวน 32 ราย ที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดทอนซิลที่มารักษาที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาลวิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดทอนซิลโดยการสุ่มว่าข้างซ้ายหรือขวาว่าข้างใดจะได้รับการผ่าตัดก่อน และข้างที่ผ่าตัดก่อนจะผ่าตัดด้วยวิธีใดจากหลายเลขที่เก็บไว้ในซองปิดผนึก และทอนซิลอีกข้างหนึ่งจะได้รับการผ่าตัดอีกวิธี ดังนั้นในแต่ละราย ทอนซิลข้างหนึ่งจะได้รับการผ่าตัดออกด้วยวิธีโคเบลชั่น อีกข้างจะได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีจี้ไฟฟ้า โดยผู้ป่วยและพยาบาลผู้ประเมินอาการปวดไม่ทราบว่าข้างใดผ่าตัดด้วยวิธีใด รวบรวมข้อมูลระหว่างผ่าตัด ได้แก่ ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด ปริมาณเลือดที่ออกในการผ่าตัดแต่ละข้าง ติดตามอาการปวดที่ 24 ชั่วโมง 48 ชั่วโมง และ 14 วันหลังผ่าตัด รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดตัววัดที่สำคัญ: คะแนนความปวดที่ 24 ชั่วโมง 48 ชั่วโมง และ 14 วันหลังผ่าตัด ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด ปริมาณเลือดที่ออกขณะผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดผลการวิจัย: ผู้ป่วยจำนวน 32 ราย เป็นชาย 14 ราย หญิง 18 ราย อายุเฉลี่ย 30.7±9.2 ปี ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดทอนซิลด้วยวิธีโคเบลชั่นที่ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดน้อยกว่าวิธีจี้ไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (5.2±0.6 vs 5.8±0.9) ส่วนระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด ปริมาณเลือดออกขณะผ่าตัด ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดทอนซิลที่ 48 ชั่วโมง และวันที่ 14 ด้วยวิธีโคเบลชั่นไม่แตกต่างจากการผ่าตัดด้วยวิธีจี้ไฟฟ้า ไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดจากการผ่าตัดทั้งสองวิธีสรุป: ความเจ็บปวดหลังผ่าตัดทอนซิลด้วยวิธีโคเบลชั่นพบว่าน้อยกว่าวิธีจี้ไฟฟ้าในวันแรก แต่ไม่ต่างกันในวันที่ 2 และวันที่ 14 หลังผ่าตัด การผ่าตัดวิธีนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัยในการผ่าตัดทอนซิล
ที่มา
วชิรเวชสาร ปี 2553, January-April ปีที่: 54 ฉบับที่ 1 หน้า 3-8
คำสำคัญ
Coblation, Electrosurgery, Tonsillectony, postoperative pain