การศึกษาเปรียบเทียบผลของการฉีดยาชาแบบ Modified Retrobulbar Block และ Peribulbar Block ต่อการทำให้กล้ามเนื้อตาปราศจากการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยผ่าตัดต่อกระจก
ปราณี สงวนชื่อ*, ศรัณย์ เจริญงามเสมอ, ศรีเวียงแก้ว เต็งเกียรติ์ตระกูล
Department of Nursing, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University
บทคัดย่อ
                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการฉีดยาชาที่ตาแบบ modified retrobulbar block และ peribulbar block ในผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดต้อกระจกในโรงพยาบาลรามาธิบดี รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางตาด้านอื่น และไม่มีโรคประจำตัวซึ่งมีผลต่อการให้ยาชาเฉพาะที่ที่มีส่วนผสมของ adrenaline จำนวน 60 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด แล้วใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบ แบ่งเป็นสองกลุ่มๆ ละ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อตา ซึ่งผู้วิจัยประยุกต์จากแบบประเมินของ Wong และคณะ (1993) และแบบประเมินความเจ็บปวดของ Johnson (1973)  ผลการวิจัยพบว่า การฉีดยาแบบ modified retrobulbar block มีโอกาสทำให้กล้ามเนื้อตา interferior และ medial rectus ปราศจากเคลื่อนไหว (akinesia) มากกว่าการฉีดยาชาแบบ peribulbar block (p < .05) ในเวลา 10 นาที หลังการฉีด ส่วนการฉีดยาชาแบบ peribulbar block มีโอกาสทำให้กล้ามเนื้อหนังตา orbicularis oculi ปราศจากการเคลื่อนไหว (akinesia) มากกว่าการฉีดยาชาแบบ modified retrobulbar block (p < .001) และไม่พบอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงทั้งสองวิธีรวมทั้งไม่พบว่า มีความเจ็บปวดที่รุนแรงทั้งสองวิธีเช่นเดียวกัน 
ที่มา
รามาธิบดีพยาบาลสาร ปี 2547, May-August ปีที่: 10 ฉบับที่ 2 หน้า 107-117
คำสำคัญ
Akinesia, การผ่าตัดต่อกระจก, การไม่เคลื่อนไหว, Modified retrobulbar block, Peribulbar block, Cataract surgery, การฉีดยาชาแบบ modified retrobulbar block, การฉีดยาชาแบบ peribulbar block