ผลของการใช้ TENS ต่อความคิดความเข้าใจพฤติกรรมและความจำในคนปกติและสูงอายุ
อภิญญา ตรีกิตติชัย*, เสก อักษรานุเคราะห์
Division of Speech Therapy, Thai Red Cross Rehabilitation Center, Samut Prakarn province
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้ TENS กระตุ้นบริเวณขมับทั้งสองข้างต่อ ความคิดความเข้าใจ พฤติกรรมและความจำในคนปกติและสูงอายุรูปแบบการวิจัย: การศึกษาชนิดทดลองโดยมีกลุ่มควบคุมตัวอย่างและวิธีการ: ทำการวิจัยในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โดยจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มควบคุมแบบสุ่ม โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการกระตุ้นไฟด้วยเครื่อง TENS วันละ 10 นาที 5 ครั้งต่อสัปดาห์นาน 3 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมจะได้รับการติดเครื่องมือ TENS แต่ไม่เปิดไฟ (SHAM) โดยผู้สูงอายุทั้งสองกลุ่มจะผ่านการทำแบบทดสอบอะริโซนาเพื่อวัดความสามารถในการสื่อความหมายของผู้ป่วยสมองเสื่อม (ABCD) ก่อนและหลังใช้เครื่องกระตุ้นไฟ TENSผลการศึกษา: ผู้สูงอายุ 36 คน มีอายุตั้งแต่ 52-84 ปี แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 13 คน และกลุ่มทดลอง 23 คน ในกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างของคะแนน ABCD ก่อนและหลังการทดสอบอย่างมีนัยสำคัญในทุกหัวข้อย่อยของแบบทดสอบ แต่จะพบการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของคะแนน ABCD หลังการกระตุ้น TENS ในกลุ่มทดลองทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านสภาพสมองปกติ ด้านความจำ และด้านการแสดงออกทางภาษาสรุปผล: การใช้ TENS กระตุ้นที่บนขมับทั้งสองข้างมีผลทำให้ความคิด ความเข้าใจและพฤติกรรม รวมทั้งความจำในระยะสั้นดีขึ้นในผู้สูงอายุ
ที่มา
จุฬาลงกรณ์เวชสาร ปี 2553, March-April ปีที่: 54 ฉบับที่ 2 หน้า 125-137
คำสำคัญ
TENS, Affective, behaviors, Memory, ความจำ, พฤติกรรม, เครื่องไฟฟ้า