การประเมินความตรง และความเที่ยงของแบบสอบถามสำหรับวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหืดฉบับย่อที่มีการแปลเป็นภาษาไทย ในคลินิกโรคหืดแบบง่ายๆ โรงพยาบาลศรีนครินทร์
ฌานี สโมสร, นุจรี ประทีปะวณิช จอห์นส, วัชรา บุญสวัสด์ิ, สุณี เลิศสินอุดม*, สุธาร จันทะวงศ์
Pharmacy Practice Division, Faculty of Pharmaceutical Sciences, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand. E-mail: parnpinpun@yahoo.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความตรง และความเที่ยงของแบบสอบถาม Thai Mini AQLQ ในคลินิกโรคหืดแบบง่าย ๆ โรงพยาบาลศรีนครินทร์วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง ใช้การสัมภาษณ์ผู้ป่วยก่อนพบแพทย์โดยผู้สัมภาษณ์ที่ได้รับการฝึกฝน 2 คน วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบคะแนนคุณภาพชีวิตในมิติต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมโรคหืดได้ และควบคุมโรคหืดไม่ได้ โดย Thai Mini AQLQ มีข้อคำถาม 15 ข้อ แยกย่อยเป็นด้านอาการ ด้านการจำกัดในกิจกรรมด้านการแสดงอารมณ์ และด้านสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อม คะแนนคุณภาพชีวิตอยู่ในช่วง 0 ถึง 7 โดยคะแนนที่สูงจะบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าค่า Cronbach’s alpha เป็นค่าที่บ่งบอกถึงความเที่ยงภายใน ความตรงของแบบสอบถามวิเคราะห์โดยใช้ t-test และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยปรับค่าตัวแปรอายุ เพศ และการศึกษาผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับคัดเลือกเข้าการศึกษา 168 คน เป็นผู้ป่วยที่ควบคุมโรคหืดได้ 113 คน และผู้ป่วยที่ควบคุมโรคหืดไม่ได้ 55 ราย มีอายุเฉลี่ย 53 ± 13 ปี ผู้ป่วยที่ควบคุมโรคหืดได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าผู้ป่วยที่ควบคุมโรคหืดไม่ได้ในทุกมิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ด้านอาการ 6.6 ± 0.54 vs. 4.7 ± 1.14, p < 0.001; ด้านการจำกัดในกิจกรรม 6.7 ± 0.57 vs. 5.0 ± 1.36, p < 0.001; ด้านการแสดงอารมณ์ 6.4 ± 0.91 vs. 4.6 ± 1.67, p < 0.001; ด้านสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อม 5.3 + 1.10 vs. 4.1 ± 1.24, p < 0.001 และรวมทุกด้าน 6.3 ± 0.51 vs. 4.6 ± 0.96, p < 0.001) และเมื่อปรับตัวแปรอายุ เพศ และการศึกษา พบว่าผู้ป่วยที่ควบคุมโรคหืดได้ มีคะแนนคุณภาพชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยที่ควบคุมโรคหืดไม่ได้ในทุกมิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับความเที่ยงภายในของแบบสอบถามค่า Cronbach’s alpha พบว่าอยู่ในช่วงที่ยอมรับทุกมิติยกเว้นด้านสิ่งเร้า ในสภาพแวดล้อม (รวมทุกด้าน 0.910; ด้านอาการ 0.855; ด้านการจำกัดในกิจกรรม 0.886; ด้านการแสดงอารมณ์ 0.765 และด้านสิ่งเร้า ในสภาพแวดล้อม 0.616)สรุป: แบบสอบถาม Thai Mini AQLQ มีความตรงและความเที่ยงสำหรับใช้วัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหืดและควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของ test-retest reliability และ responsiveness
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2553, March ปีที่: 93 ฉบับที่ 3 หน้า 373-377
คำสำคัญ
Asthma, Quality of life, Thai MiniAQLQ, Routine care