การศึกษาประสิทธิภาพและความทนต่อยาของของริสเพอริโดนชนิดออกฤทธ์ิเนิ่นแบบฉีดเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ในผู้ป่วยโรคจิตเภทชาวไทยซึ่งมีอาการเรื้อรัง
กนกวรรณ กิตติวัฒนากูล, มานิต ศรีสุรภานนท์, รณชัย คงสกนธ์, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล*, อำไพขนิษฐ สมานวงศ์ไทย
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, 123 Mitraparp Rd, Muang District, Khon Kaen 40002, Thailand.Phone & Fax: 043-348-384. E-mail: suwaru@kku.ac.th
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: แม้ว่ายารักษาโรคจิตเภทกลุ่มใหม่ชนิดรับประทานจะมีผลการรักษาที่ดีขึ้น หากแต่การให้ความร่วมมือในการรับประทานยายังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อผลการรักษา ดังนั้นจึงมีการพัฒนายารักษาโรคจิตเภท ชนิดออกฤทธิ์เนิ่นแบบฉีดขึ้นเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วย และยาริสเพอริโดนเป็นยารักษาโรคจิตเภทกลุ่มใหม่ชนิดแรกที่ถูกพัฒนารูปแบบการนำส่งยาเป็นแบบออกฤทธ์เนิ่นชนิดฉีดวัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพ และความทนต่อยาของของริสเพอริโดนชนิดออกฤทธ์ิเนิ่นแบบฉีด เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ในผู้ป่วยโรคจิตเภทชาวไทยซึ่งมีอาการเรื้อรังวัสดุและวิธีการ: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบเปิด ชนิดขาเดียว ไม่มีการสุ่ม ทำในศูนย์การศึกษาจำนวน 5 แห่งในประเทศไทยโดยมุ่งการศึกษาในผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคจิตเภทตามเกณฑ์ของ DSM-IV ผู้ป่วยได้รับริสเพอริโดน แบบออกฤทธิ์เนิ่น ชนิดฉีดขนาด 25, 37.5 หรือ 50 มิลลิกรัม ทุก ๆ 2 สัปดาห์ การประเมินประสิทธิภาพของการรักษาใช้มาตรวัด ดังต่อไปนี้คือ Manchester PsychiatricRating Scale (MPS), CGI-S, และ SF-36 โดยประเมินที่ค่าพื้นฐานสัปดาห์ที่ 6, สัปดาห์ที่ 12 หรือ เมื่อสิ้นสุดการศึกษา นอกจากนี้ ยังมีการประเมินความทนต่อยา โดยใช้มาตรวัดคือ Yale Extrapyramidal Symptoms Rating Scale (YESS) ประเมินความเจ็บปวดบริเวณที่ฉีดยาโดยใช้ Visual analogue scale บันทึกน้ำหนักตัวของผู้ป่วย และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินโครงการผลการศึกษา: จากข้อมูลผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 184 ราย มีจำนวนผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาจนเสร็จสมบูรณ์ จำนวน 160 คน (ร้อยละ 87) โดยที่ยาริสเพอริโดนแบบออกฤทธิ์เนิ่นชนิดฉีดสามารถปรับปรุงคะแนน MPS positive จากค่ามาตรฐานเฉลี่ย 4.4 ± 3.7 เป็น 1.6 ± 2.6 ที่จุดยุติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) อีกทั้งยังสามารถลดคะแนน MPS negative จากค่ามาตรฐาน เฉลี่ย 3.06 ± 2.68 เป็น 0.93 ±1.61 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (p < 0.001) นอกจากนั้นคะแนนการประเมิน CGI-S มีการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) เมื่อเทียบระหว่างสัดส่วนของประชากรที่ถูกประเมินว่า “ไม่มีความเจ็บป่วยเลย” หรือ “มีความเจ็บป่วยเล็กน้อย” จากค่าพื้นฐานเฉลี่ยร้อยละ 5.9 เป็นร้อยละ 53.2 ที่จุดยุติ ส่วนผลการประเมินคุณภาพชีวิตโดยใช้แบบทดสอบชนิดย่อ 36 ข้อ (SF-36) พบว่ามีการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุก ๆ ส่วนของแบบสอบถาม ส่วนการประเมินด้านความผิดปกติของการเคลื่อนไหวโดยใช้ YESS scale พบว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปลี่ยนมาใช้ยาริสเพอริโดนแบบออกฤทธิ์เนิ่นชนิดฉีด และไม่พบการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการศึกษาสรุป: การศึกษาแบบครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าริสเพอริโดนชนิดฉีดออกฤทธิ์เนิ่น ทำให้ทำให้อาการของผู้ป่วยโรคจิตเภท และความผิดปกติ ของการเคลื่อนไหวดีขึ้น และแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยทนต่อยาได้ดี และให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยวิธีนี้
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2553, March ปีที่: 93 ฉบับที่ 3 หน้า 343-350
คำสำคัญ
Schizophrenia, Thai, Risperidone long acting injection