การให้ยาชาระงับความรู้สึกทาง Thoracic epidural (TEA) ด้วย 0.2% Ropivacaine ร่วมกับการทำBrachial Plexus Block (BPB) สำหรับการผ่าตัด Modified Radical Mastectomy (MRM)
กรวีร์ พสุธารชาติ, เพชรา สุนทรฐิติ*, เพชรเอง สุรนัคครินทร์, เยาวนุช คงด่านDepartment of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand. Phone: 0-2201-1513, 0-2201-1523, Fax: 0-2245-1569, E-mail: kpasuth@yahoo.com
บทคัดย่อ
บทนำ: โรคมะเร็งเต้านมพบบ่อยเป็นอันดับ 2 ของโรคมะเร็งในสตรีไทย โดยทั่วไปการรักษาด้วยการผ่าตัดเต้านมในปัจจุบัน ใช้วิธีให้ ยาระงับความรู้สึกทั่วไป (General anesthesia: GA) แบบใส่ ท่อหายใจ แต่ข้อด้อยก็คือวิธีนี้ยังไม่สามารถให้การระงับความปวดภายหลังการผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารยาระงับปวดกลุ่ม opioid ทางหลอดเลือดดำก็มักจะเกิดผลข้างเคียงเช่น คลื่นไส้อาเจียน และง่วงซึมการผ่าตัดมะเร็งเต้านมสามารถให้ยาชาเฉพาะที่ ขนาดต่ำเพื่อระงับความรู้ สึกทาง thoracic epiduralร่วมกับการทำ BPB ข้างเดียวกับที่จะเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ซึ่งเทคนิคนี้สามารถให้ผลการระงับปวดได้ดีกว่าโดยที่ผู้ป่วยไม่เกิดปัญหาการหายใจหรือง่วงซึมวัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาในผู้ป่วยหญิง 50 คน ASA Physical Status I-III ที่มารับการผ่าตัด MRM โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่ม ในกลุ่ม TEA จะใส่สาย epidural ที่ระดับ T4-T5 ให้ยาชา 0.2% Ropivacaine 10-15 มิลลิลิตร จากนั้นทำ BPB ด้วยวิธี interscalene โดยใช้ 0.2% ropivacaine 8 มิลลิลิตร ระหว่างผ่าตัดให้ยาชา 0.2% ropivacaine ทาง epidural 5-10 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง ส่วนกลุ่ม GA นำสลบด้วย fentanyl 1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ตามด้วย propofol 1.5-2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมทางหลอดเลือดดำ ระหว่างผ่าตัดผู้ป่วยได้รับไนตรัสออกไซด์70%ในออกซิเจนร่วมกับ sevofluraneและยาหย่อนกล้ามเนื้อตามความเหมาะสม ผู้ทำการศึกษาจะประเมินความเพียงพอของการให้ยาระงับความรู้สึก การฟื้นตัว การระงับปวดหลังผ่าตัดและความพึงพอใจของผู้ป่วยผลการศึกษา: ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วยกลุ่ม TEA ที่มี sedation score = 1 เมื่อมาถึงห้องพักฟื้นมีจำนวนมากกว่ากลุ่ม GA อย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.003) ในขณะที่ผู้ป่วยกลุ่ม TEA ที่มี Aldrete score =10 ที่ห้องพักฟื้นก็มีจำนวนมากกว่ากลุ่ม GA แต่ไม่พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.25) ผู้ป่วยกลุ่ม TEA มี verbal rating scale (VRS) ในเรื่องความปวดต่ำกว่าและต้องการยาระงับปวดน้อยกว่ากลุ่ม GA อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.001และ p = 0.002 ตามลำดับ) นอกจากนี้ผู้ป่วยกลุ่ม TEA ยังมีความพึงพอใจสูงกว่ากลุ่ม GA อีกด้วย (p = 0.014)สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การทำ TEA ร่วมกับ BPB โดยใช้ 0.2% ropivacaine เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถให้การระงับความรู้สึกในการผ่าตัด MRM ได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และให้ผลการระงับปวดหลังการผ่าตัดได้ดีกว่า การฟื้นตัวจากการให้ ยาระงับความรู้สึกเร็วกว่า และผู้ป่วยมีความพึงพอใจสูงกว่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2548, April
ปีที่: 88 ฉบับที่ 4 หน้า 513-520
คำสำคัญ
Mastectomy, Thoracic epidural