การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาอีพิเนฟรินแบบพ่นสองขนาดในการรักษาการบวมที่เกิดขึ้นภายหลังการถอดท่อหลอดลมคอ
ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิร, ศรีวรรณา ทาสันเทียะ, อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, อภิญญา สุมนะไพศาล, อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์*, เบญจพร จินรัตน์, เปรมฤดี ภูมิถาวร
Departments of Pediatrics, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของการใช้ยาพ่นอีพิเนฟรินในขนาด 0.05 มล./กก. กับ0.5 มล./กก. ในการรักษาการบวมที่เกิดขึ้นภายหลังการถอดท่อหลอดลมคอวัสดุและวิธีการ: สุ่มผู้ป่วยเด็กจำนวน 39 ราย ที่ มีอาการแสดงของการบวมของทางเดินหายใจส่วนต้นภายหลังการถอดท่อหลอดลมคอออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้พ่นอีพิเนฟรินขนาด 0.05 มล./กก. กลุ่มที่สองให้พ่นขนาด 0.5 มล./กก. แล้วประเมินประสิทธิภาพการรักษาโดยใช้คะแนนสะสมของอาการแสดงที่บ่งชี้ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้นร่วมกับการประเมินสัญญาณชีพและผลข้างเคียง ก่อนพ่นยา และที่ 20 และ 40 นาทีหลังพ่นยาตามลำดับผลการศึกษา: มีผู้ป่วย 21 และ 18 รายอยู่ในกลุ่ม 0.05 มล./กก. และ 0.5 มล./กก. ตามลำดับ ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีการลดลงของอาการแสดงที่บ่งชี้ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้นที่เวลา 20 และ 40 นาทีพอ ๆ กัน โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างทั้ง 2 กลุ่ม นอกจากนี้ยังไม่พบผลข้างเคียงใด ๆ ที ่เกิดจากยาพ่นทั้ง 2 ขนาดสรุป: ยาอีพิเนฟรินพ่นในขนาด 0.05 มล./กก. มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างจากขนาด 0.5 มล./กก. ในการรักษาการบวมที่เกิดขึ้นภายหลังการถอดท่อหลอดลมคอ ไม่พบผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากยาทั้ง 2 ขนาด
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2548, April ปีที่: 88 ฉบับที่ 4 หน้า 508-512
คำสำคัญ
Aerosol, children, Croup, Epinephrine, Intubation, Upper airway obstruction