การทดสอบทฤษฏีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยเพื่อทำนายคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและคอ
Merle H . Mishel, ธวัชชัย วรพงศธร, มุกดา เดชประพนธ์*, ยาใจ สิทธิมงคล, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม
Department of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand E-mail: mukda_det@hotmail.com
บทคัดย่อ
การศึกษาภาคตัดขวางเชิง บรรยายในครั้งนี้ เพื่อทดสอบทฤษฎีความรู้สึกไม่แน่นอนใน ความเจ็บป่วยเพื่อทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและคอ ตัวแปรที่ศึกษาประกอบ ด้วยประสบการณ์การเกิดอาการการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาพุทธความรู้สึกไม่แน่นอน ภาวะซึม เศร้า และคุณภาพชีวิต ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและคอ จำนวน 240 คนจาก โรงพยาบาล 5 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เครื่อง มือที่ใช้ประกอบด้วยแบบประเมินเกี่ยวกับการนึกคิดและการจำแบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประสบการณ์เกี่ยวกับอาการ แบบวัดการปฏิบัติกิจกรรมทางพุทธศาสนา แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต รูปแบบที่สร้างขึ้นได้รับการทดสอบ และปรับด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.52รูปแบบที่ปรับแล้วมีความสอดคล้องกับข้อมูลและอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความ รู้สึกไม่แน่นอน ภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตได้เป็นส่วนใหญ่ ผลการศึกษา พบว่าประสบการณ์ การเกิดอาการมีอิทธิพลทั้งโดยตรงทางบวกต่อความรู้สึกไม่แน่นอนและมีอิทธิพลทางอ้อมต่อภาวะ ซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตผ่านความรู้สึกไม่แน่นอน นอกจากนี้ ความรู้สึกไม่แน่นอนมีอิทธิพลโดยตรงทางลบต่อคุณภาพชีวิตและอิทธิพลโดยตรงทางบวกต่อภาวะซึมเศร้า การปฏิบัติกิจกรรม ทางศาสนาพุทธมีอิทธิพลโดยตรงทางบวกต่อคุณภาพชีวิต ถึงแม้จะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มี ผลทางอ้อมต่อความรู้สึกไม่แน่นอนผ่านประสบการณ์การเกิดอาการ และไม่มีผลทางอ้อมต่อภาวะ ซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตผ่านความรู้สึกไม่แน่นอน ผลการศึกษาในครั้งนี้ช่วยในการจัดการกับอาการและความรู้สึกไม่แน่นอน ซึ่งส่งเสริมให้สามารถป้องกันหรือลดความซึมเศร้าและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและคอได้
ที่มา
วารสารวิจัยทางการพยาบาล ปี 2552, January-March ปีที่: 13 ฉบับที่ 1 หน้า 1-15
คำสำคัญ
คุณภาพชีวิต, Uncertainty, การทดสอบทฤษฎี, ความรู้สึกไม่แน่นอน, มะเร็งบริเวณศีรษะและคอ, Quality of life, Head and neck cancer, Theory testing