การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการหลุดของถ้วยและภาวะแทรกซ้อนต่อทารกในการช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศระหว่างวิธีลดความดันแบบช้าและแบบเร็ว
จุลละศักดิ์ สร้อยวัฒนา*, เกษม แก้วเกียรติคุณ, ไพบูลย์ เจริญชัยนนท์
Department of Obstetrics and Gynecology, BMA Medical College and Vajira Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราการหลุดของถ้วยและภาวะแทรกซ้อนต่อทารกในระยะ 5 วันแรกหลังคลอดในการช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ ระหว่างวิธีลดความดันแบบช้าและแบบเร็วรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองสถานที่ทำการวิจัย: ห้องคลอด ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาลกลุ่มตัวอย่าง: สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 37 สัปดาห์ ที่อยู่ในระยะที่สองของการคลอด และมีข้อบ่งชี้ในการช่วยคลอดจำนวน 200 คน ที่มาคลอดที่ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล ระหว่างเดือนกันยายน 2540 จนถึงเดือนมิถุนายน 2541 และไม่มีข้อห้ามต่อการช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศวิธีดำเนินการวิจัย: แบ่งสตรีตั้งครรภ์ 200 คน ที่เข้าเกณฑ์เป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีสุ่มตามเลขท้ายของเลขที่ทั่วไปของโรงพยาบาล ในกลุ่มที่ 1 คือรายที่มีเลขที่ทั่วไปลงท้ายด้วยเลขคี่ จะใช้วิธีลดความดันแบบช้า ส่วนกลุ่มที่ 2 คือรายที่มีเลขที่ทั่วไปลงท้ายด้วยเลขคู่ จะใช้วิธีลดความดันแบบเร็ว บันทึกอัตราการหลุดของถ้วยและภาวะแทรกซ้อนต่อทารกในระยะ 5 วันแรก จากการช่วยคลอดด้วยการลดความดันทั้ง 2 วิธีดังกล่าวตัววัดที่สำคัญ: อัตราการหลุดของถ้วยจากศีรษะทารก ภาวะแทรกซ้อนต่อทารกผลการวิจัย: อัตราการหลุดของถ้วยจากศีรษะทารก ในกลุ่มที่ช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ โดยวิธีลดความดันแบบช้าและแบบเร็ว เท่ากับร้อยละ 7 และร้อยละ 6 ตามลำดับ ซึ่งความแตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.78) ส่วนภาวะแทรกซ้อนต่อทารก พบภาวะ scalp abration/ laceration ใสกลุ่มที่คลอดด้วยวิธีลดความดันแบบช้าและแบบเร็ว เท่ากับร้อยละ 11 และร้อยละ 8 ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.47) สำหรับภาวะ cephalhematoma ในกลุ่มที่คลอดด้วยวิธีลดความดันแบบช้าและแบบเร็ว เท่ากับร้อยละ 14 และร้อยละ 12 ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.68) เช่นกันสรุป: การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ โดยวิธีลดความดันแบบช้าและแบบเร็ว พบอัตราการหลุดของถ้วย และภาวะแทรกซ้อนต่อทารก มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่มา
วชิรเวชสาร ปี 2544, September-December ปีที่: 45 ฉบับที่ 3 หน้า 171-178
คำสำคัญ
Vacuum extraction, Stepwise and rapid application, Slip rate, Neonatal complications