การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการบรรเทาความเจ็บปวดหลังผ่าตัดใหญ่ทางนรีเวชของยาบูพรีนอร์ฟิน และยาเมเพอริดีน
จุลละศักดิ์ สร้อยวัฒนา*, มานิต ศรีประโมทย์, ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล
Department of Obstetrics and Gynecology, BMA Medical College and Vajira Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของยา buprenorphine ชนิดอดใต้ลิ้นกับยา meperidine ชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำในการบรรเทาความเจ็บปวดหลังผ่าตัดใหญ่ทางนรีเวชชนิดของการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองสถานที่ทำการวิจัย: หอผู้ป่วยนรีเวชกรรม ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาลกลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดใหญ่ทางนรีเวช จำนวน 66 คน ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 แบ่งผู้ป่วย จำนวน 66 คน ออกเป็น 2 กลุ่มๆละ 33 คน โดยวิธี random allocationวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มที่ 1 (จำนวน 33 คน) ได้รับยาบรรเทาปวด buprenorphine 0.4 มก. อมใต้ลิ้นหลังผ่าตัดเมื่อผู้ป่วยเจ็บแผลผ่าตัด กลุ่มที่ 2 (จำนวน 33 คน) ได้รับยาบรรเทาปวด meperidine 1 มก./กก. ฉีดเข้าเส้นเลือดดำหลังผ่าตัด เมื่อผู้ป่วยเจ็บแผลผ่าตัด ประเมินอาการเจ็บปวดแผลก่อนและหลังได้รับยาโดย visual analogue scalesตัววัดที่สำคัญ: ค่าเฉลี่ยของ pain reliefผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยของ pain relief ที่ 4 ชั่วโมง ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา buprenorphine มากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา meperidine คือมีค่าเท่ากับ 8.1±1.93 และ 3.8±3.44 ตามลำดับ โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% confidence interval 3.0 – 5.7, p < 0.001) และยังพบว่ากลุ่ม buprenorphine ต้องการยาบรรเทาปวดครั้งที่ 2 น้อยกว่ากลุ่ม meperidine คือมี 4 คน (12.1%) และ 18 คน (54.5%) ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001) และพบผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05)สรุป: ยาบรรเทาปวด buprenorphine ชนิดอมใต้ลิ้น 0.4 มก. ออกฤทธิ์บรรเทาความเจ็บปวด ในผู้ป่วยผ่าตัดทางนรีเวชได้ดีกว่ายา meperidine ชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดดำ 1 มก./กก. ที่ 4 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
ที่มา
วชิรเวชสาร ปี 2544, May-August ปีที่: 45 ฉบับที่ 2 หน้า 83-91
คำสำคัญ
buprenorphine, meperidine, postoperative pain