ผลของฮอร์โมนทดแทนต่อคุณภาพชีวิตของสตรีวัยหมดระดู
กฤต วานิศวณะทอง, มานิต ศรีประโมทย์, อังคณา พงศ์ผาติโรจน์*
Department of Obstetrics and Gynecology, BMA Medical College and Vajira Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาถึงผลของการให้ฮอร์โมนทดแทนต่อคุณภาพชีวิต ของสตรีวัยหมดระดูรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาสถานที่วิจัย: คลินิกวัยทอง ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาลกลุ่มตัวอย่าง: สตรีวัยหมดระดูที่มารับการตรวจรักษาที่คลินิกวัยทอง จำนวน 45 ราย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2542 ถึงพฤษภาคม 2553วิธีดำเนินการวิจัย: ให้สตรีหมดระดูที่มาตรวจรักษาที่คลินิกวัยทองตอบแบบสอบถาม เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตครั้งแรกก่อนได้ฮอร์โมนทดแทน เมื่อได้ฮอร์โมนทดแทนครบ 3 เดือนแล้วมาตรวจตามนัด ได้ตอบแบบสอบถามอีกครั้งหนึ่ง การคิดคะแนนแยกเป็น 4 อาการหลัก (domain) คือ vasomotor, psychosocial, physical และ sexual โดยมีพิสัยของคะแนนระหว่าง 1-8 คะแนนน้อยบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า เช่นคะแนนเท่ากับ 1 บ่งบอกถึงไม่มีอาการ คะแนนเท่ากับ 8 บ่งบอกถึงอาการที่มีผลกระทบต่อชีวิตมากที่สุด และวิเคราะห์ทางสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพชีวิตก่อนและหลังได้ฮอร์โมนทดแทนตัววัดที่สำคัญ: คุณภาพชีวิต ใช้เครื่องมือวัดที่เป็นแบบสอบถามโดย แปลมาจาก the menopause-specific quality of life questionnaire (MENQOL questionnaire) ประเมินคุณภาพชีวิต 4 อาการหลัก คือ vasomotor, psychosocial, physical และ sexualผลการวิจัย: สตรีวัยหมดระดูเข้าร่วมการวิจัย 45 ราย มาตามนัดและตอบแบบสอบถามครบทั้ง 2 ครั้ง 36 ราย พบว่าสตรีวัยหมดระดูหลังได้ยาฮอร์โมนทดแทนครบ 3 เดือน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทุกอาหารหลัก โดยคะแนนอาการทาง vasomotor ลดลงจาก 3.57 เป็น 1.56 psychosocial ลดลงจาก 3.49 เป็น 2.38 physical ลดลงจาก 3.81 เป็น 2.54 และ sexual domain ลดลงจาก 4.35 เป็น 2.38 โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ในทุกอาการหลักสรุป: หลังให้ฮอร์โมนทดแทนครบ 3 เดือน คุณภาพชีวิตของสตรีวัยหมดระดูดีขึ้นในทุกอาการหลัก ทั้งอาการทาง vasomotor, psychosocial, physical และ sexual
ที่มา
วชิรเวชสาร ปี 2544, January-April ปีที่: 45 ฉบับที่ 1 หน้า 1-11
คำสำคัญ
hormone replacement therapy, Postmenopausal women, Quality of life