การผสม fentanyl ในยาชาที่ ฉีดเข้าช่องไขสันหลังเพื่อเสริ มการระงับปวดในการผ่าตัดไส้ติ่ง
ปกรณ์ อุรุโสภณ, ปรีดี เกียรติกังวาฬไกล, รุ่งรัตน์ โฆษะวิบูลย์ผล, อัญชลี เตชะนิเวศน์*
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand
บทคัดย่อ
ปัญหา การทำผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบส่วนใหญ่ถือเป็นการผ่าตัดฉุกเฉิน วิธีการให้การระงับความรู้สึกมักเลือกใช้การฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง แต่ในระหว่างการดูแลผู้ป่วยที่กำลังผ่าตัดนั้น บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะบ่นปวดท้องทั้งที่ระดับชาได้ตามมาตรฐานแล้วคือระดับลิ้นปี่วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบสมมุติฐานที่ว่าการให้ fentanyl ร่วมไปกับการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ในการผ่าตัดไส้ติ่ง สามารถเพิ่มคุณภาพของการระงับความรู้สึกลดความปวดระหว่างการผ่าตัดสถานที่ทำการศึกษา ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์การคัดเลือกผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดไส้ ติ่งจำนวน 60 ราย ผู้ป่วยทุกรายต้องไม่มีข้อห้ามในการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง และไม่เคยมีประวัติแพ้ fentanyl หรือยาชา ผู้ป่วยได้รับการอธิบายถึงการศึกษาและได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรรูปแบบการวิจัย การวิจัยเชิงทดลองวิธีการทำวิจัย ผู้ป่วยจะถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยการสุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 20 ราย กลุ่ม 20 จะได้รับการฉีด fentanyl 20 ไมโครกรัมเข้าช่องไขสันหลัง กลุ่ม 10 จะได้รับการฉีด fentanyl 10 ไมโครกรัมเข้าช่องไขสันหลัง และกลุ่ม 0 ได้รับการฉีดน้ำเกลือ 0.4 มล เข้าช่องไขสันหลังเป็นกลุ่มควบคุม, โดยวิสัญญี พยาบาลจะเป็นผู้ผสมยาให้ และวิสัญญีแพทย์ผู้ซึ่งไม่ทราบว่าผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มใดจะเป็นผู้ที่ฉีดยาเข้าช่องไขสันหลังผลการศึกษา ระดับการชาที่ 5, 10, 15, 30, 45 นาทีหลังการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังและระดับชาสูงสุดไม่แตกต่างกัน แต่ที่ 60 นาทีพบว่าระดับชาในกลุ่ม 20 ลดลงน้อยกว่ากลุ่ม 10 และกลุ่ม 0 (P < 0.05) ในระหว่างการผ่าตัดพบว่าผู้ป่วยทุกรายในทั้งสองกลุ่มที่ได้รับ fentanyl ไม่มีอาการปวดในขณะที่พบ 13 รายในกลุ่ม 0 (p < 0.001) โดยมีระดับความปวดสูงสุดเฉลี่ย (VNS scores) ในทั้งสองกลุ่มที่ได้รับ fentanyl ต่ำกว่ากลุ่ม 0 (P < 0.001) หลังผ่าตัดพบว่าผู้ป่วยกลุ่ม 20 เริ่มขอยาแก้ปวดครั้งแรกช้ากว่ากลุ่ม10 และกลุ่ม 0 (P < 0.05) อาการข้างเคียงได้แก่ อาการสั่นระหว่างการผ่าตัดพบว่าในทั้งสองกลุ่มที่ได้รับ fentanyl พบน้อยกว่ากลุ่ม 0 (P< 0.05) ภาวะความดันโลหิตลดลง อาการคัน คลื่นไส้ อาเจียนและปัสสาวะไม่ออกพบไม่แตกต่างกัน ไม่พบอาการปวดศีรษะหรือการกดการหายใจ ผู้ป่วยทุกรายในทั้งสองกลุ่มที่ได้รับ fentanyl และ18 รายในกลุ่ม 0 พึงพอใจในการให้ยาชาระงับความรู้สึกสรุป การผสม fentanyl ทั้งขนาด 10 และ 20 ไมโครกรัมเข้าไปกับยาชาในการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง สำหรับผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งช่วยเพิ่มคุณภาพการชาและลดอาการสั่นในระหว่างการผ่าตัดไส้ ติ่ง และในขนาด 20 ไมโครกรัมยังช่วยเพิ่มระยะเวลาการชาและลดความปวดหลังการผ่าตัด
ที่มา
จุฬาลงกรณ์เวชสาร ปี 2547, January ปีที่: 48 ฉบับที่ 1 หน้า 9-21
คำสำคัญ
Appendectomy, การฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง, การผ่าตัดไส้ติ่ง, Spinal anesthesia, Intrathecal fentanyl