ประสิทธิผลของการกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อลดอาการปวดหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลังหรือการผ่าตัดหมอนรองกระดูก:การศึกษาเบื้องต้น
Niruthisard S, ขวัญยุพา สุคนธมาน, ณฤพร ชัยประกิจ*, ทวีชัย เตชะพงศ์วรชัย, อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา
Dapartment of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Rama IV Rd, Bangkok 10330; E-mail: jubnaa@gmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อลดปวด (transcutaneous electrical nerve stimulation, TENS) และลดปริมาณการใช้ยามอร์ฟีน (morphine) กับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังหรือการผ่าตัดหมอนรองกระดูกรูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงทดลองชนิดมีกลุ่มควบคุมแบบสุ่ม และผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองอยู่ในกลุ่มใดสถานที่ทำการวิจัย: ฝ่ายศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังหรือการผ่าตัดหมอนรองกระดูกน้อยกว่า 4 ระดับ วิธีการศึกษา: สุ่มผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (active TENS) และกลุ่มควบคุม (sham TENS) กระตุ้น TENS 1 ชั่วโมง 3 ครั้ง/วัน นาน 48 ชั่วโมง ประเมินระดับความปวดก่อนกระตุ้นและหลังผ่าตัด 48 ชั่วโมง ประเมินระดับความพึงพอใจและปริมาณยามอร์ฟีนที่ให้ทางหลอดเลือดที่ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัดผลการศึกษา: ระดับความปวด ระดับความพึงพอใจ และปริมาณการใช้มอร์ฟีนของผู้ป่วยกลุ่มทดลอง 11 คน และกลุ่มควบคุม 11 คน ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  แต่กลุ่มทดลองมีแนวโน้มความต้องการใช้ยามอร์ฟีนน้อยกว่ากลุ่มควบคุม และไม่พบภาวะแทรกซ้อนุรุนแรงใดๆ ทั้ง 2 กลุ่ม สรุป: เมื่อใช้การกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อลดปวดกับผู้ป่วยหลังที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังหรือการผ่าตัดหมอนรองกระดูกมีแนวโน้มลดปริมาณการใช้ยามอร์ฟีนเพื่อลดปวด
ที่มา
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ปี 2551, November ปีที่: 18 ฉบับที่ 3 หน้า 73-77
คำสำคัญ
pain, อาการปวด, Laminectomy, TENS, Discectomy, การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าเพื่อลดปวด, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, การผ่าตัดหมอนรองกระดูก