ประสิทธิผลในการกระตุ้นการขับถ่ายของว่านหางจระเข้เหน็บทวาร
นลินทิพน์ ตำนานทอง*, เสมอเดือน คามวัลย์
Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาประสิทธิผลในการกระตุ้นการขับถ่ายของวุ้นว่านหางจระเข้เหน็บทวาร ในการฝึกขับถ่ายในผู้ป่วยอัมพาตที่กลั้นถ่ายอุจจาระไม่ได้ โดยเปรียบเทียบกับดัลโคแลกซ์เหน็บทวารรูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาแบบ randomized control trial, cross over design แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม โดย block randomization กลุ่มแรกได้รับการเหน็บทวารด้วยดัลโคแลกซ์ วันละครั้งติดต่อกัน 4 วัน แล้วเหน็บด้วยวุ้นว่านหางจระเข้วันละครั้งติดต่อกัน 4 วัน กลุ่มที่ 2 ได้รับการเหน็บทวารด้วยวุ้นว่านหางจระเข้ก่อน 4 วัน แล้วเหน็บด้วยดัลโคแลกซ์อีก 4 วัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายเป็นเวลา ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ จริยธรรมประจำคณะแพทยศาสตร์ กลุ่มที่ทำวิจัย: จำนวน 20 คน เป็นชาย 17 คน อายุเฉลี่ย 41.53 ปี หญิง 3 คน อายุเฉลี่ย 36.33 ปี มีรอยโรคที่ไขสันหลังระดับคอ 6 คน ระดับอก 11 คน ระดับเอว 3 คนวิธีการ: วัดผลหลังจากเหน็บทวาร 30 นาที ดูว่ามีการขับถ่ายเกิดขึ้นหรือไม่ผลการวิจัย: ประสิทธิภาพในการกระตุ้นการขับถ่ายของวุ้นว่านหางจระเข้เท่ากับ 11.25% และดัลโคแลกซ์เท่ากับ 1.25% มีการขับถ่ายราดในเวลาอื่นหลังจากเหน็บทวารด้วยวุ้นว่านหางจระเข้รวม 15 วัน (19 ครั้ง) ดัลโคแลกซ์ 35 วัน (43 ครั้ง) จากการเหน็บชนิดละ 80 วันสรุป: ประสิทธิผลในการกระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายด้วยวุ้นว่านหางจระเข้และดัลโคแลกซ์เหน็บทวารต่ำมากที่ 30 นาที หลังจากการเหน็บ ถึงแม้ว่าวุ้นว่านหางจระเข้จะได้ผลมากกว่า และดัลโคแลกซ์ ทำให้เกิดการถ่ายราดในเวลาอื่นได้บ่อยกว่าวุ้นว่านหางจระเข้
ที่มา
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ปี 2545, July ปีที่: 11 ฉบับที่ 3 หน้า 98-104