Rate of Urinary Tract Infection in Self-Catheterization Compared to Nurse-Catheterization for Bladder Training in Patients with Spinal Cord Lesion
Chobcheun R, Hanpanich K, Manimmanakorn N, Tamnanthong N*
Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
บทคัดย่อ
การสวนปัสสาวะเป็นระยะ (intermittent catheterization) เป็นวิธีการที่ใช้เพื่อฝึกการขับถ่ายปัสสาวะในผู้ป่วยที่กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ซึ่งต้องฝึกจนกว่าจะสามารถปัสสาวะได้เอง โดยมีจำนวนปัสสาวะเหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะน้อยกว่าประมาณ 100 มิลลิลิตร การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบทดลอง (randomized control trial) ชนิด cross over design เพื่อเปรียบเทียบอัตราการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ จากการสวนปัสสาวะด้วยตนเอง กับการสวนปัสสาวะโดยพยาบาล ได้ศึกษาผู้ป่วยที่มีรอยโรคที่ไขสันหลังจำนวน 20 คน เป็นชาย 16 คน หญิง 4 คน อายุ 19-56 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มที่ 1 คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการสวนปัสสาวะด้วยตนเอง 2 สัปดาห์ แล้วเปลี่ยนเป็นการสวนปัสสาวะโดยพยาบาล 2 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 คือผู้ป่วยที่ได้รับการสวนปัสสาวะโดยพยาบาล 2 สัปดาห์ แล้วเปลี่ยนเป็นการสวนปัสสาวะด้วยตนเองอีก 2 สัปดาห์ ส่งปัสสาวะตรวจและเพาะเลี้ยงเชื้อทุก 1 สัปดาห์ พบว่ามีผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ คือ มีไข้มากกว่า 37.8 องศาเซลเซียส ปัสสาวะมีเม็ดเลือดขาวมากกว่า 10 เซลล์/HPF และเพาะเลี้ยงเชื้อจากปัสสาวะขึ้นมากกว่า 105 coronies/ml เกิดขึ้น 4 ครั้ง จากการสวนปัสสาวะด้วยตนเอง และ 3 ครั้ง จากการสวนโดยพยาบาล ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.421) การที่ผู้ป่วยสามารถสวนปัสสาวะด้วยตนเองได้ ทำให้สามารถออกจากโรงพยาบาลกลับไปบ้านได้เร็วขึ้น อันเป็นผลดีต่อทั้งผู้ป่วยและโรงพยาบาลเอง
ที่มา
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ปี 2539, September-December ปีที่: 6 ฉบับที่ 2 หน้า 24-34