การใช้ลูกอมสมุนไพรในการเลิกสูบบุหรี่
กัลยาณี ตันศฤงฆาร*, นิกร ดุสิตสิน, ปิยลัมพร หะวานนท์, เขมิกา ยามะรัต, ไพลิน ศรีสุขโข
Institute of Health Research, Chulalongkorn University, Bangkok 10330
บทคัดย่อ
                อาสาสมัครที่สูบบุหรี่จากบริษัทการบินไทย จำกัด จำนวน 91 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อาสาสมัครสูบบุหรี่ขึ้นกับปริมาณนิโคติน 33 คน และอาสาสมัครสูบบุหรี่ไม่ขึ้นกับปริมาณนิโคติน 58 คน แบ่งอาสาสมัครที่สูบบุหรี่ขึ้นกับปริมาณนิโคตินออกเป็น 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มที่ได้รับ Bimin 2 และ กลุ่มที่ได้รับลูกอมสมุนไพรปลอม ซึ่งได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของลูกอมสมุนไพร Bimin 2 เพื่อศึกษาอาการถอนยาและการยอมรับลูกอมสมุนไพร Bimin 2 ในระยะเวลา 20 วัน คุณสมบัติโดยทั่วไปของอาสาสมัครที่สูบบุหรี่ ซึ่งไม่ขึ้นกับปริมาณนิโคติน จะแตกต่างจากอาสาสมัครที่สูบบุหรี่โดยขึ้นกับปริมาณนิโคติน เป็นต้นว่า การศึกษา การสูบบุหรี่มวนแรกหลังตื่นนอน ความถี่ของการสูบบุหรี่ในชั่วโมงแรกหลังตื่นนอนตอนเช้า และจำนวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน อาสาสมัครในกลุ่มที่ใช้ลูกอมสมุนไพร Bimin 2 สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ 45.5% แต่กลุ่มที่ใช้ลูกอมสมุนไพรปลอมสามารถเลิกบุหรี่ได้ 77.8% การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าลูกอมสมุนไพร Bimin 2 ไม่มีประสิทธิภาพในการทำให้เลิกสูบบุหรี่ อาสาสมัครไม่มีอาการถอนยารุนแรงและอาการถอนยาจะค่อยๆ ลดลงจากเริ่มใช้ลูกอม จนครบตามระยะเวลาที่กำหนด อาสาสมัครส่วนใหญ่เห็นด้วยกับวิธีการเลิกสูบบุหรี่ด้วยลูกอมสมุนไพร และยินดีที่จะแนะนำแก่เพื่อนที่ต้องการจะเลิกสูบบุหรี่
ที่มา
วารสารวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2538, March ปีที่: 9 ฉบับที่ 1 หน้า 1-8
คำสำคัญ
Efficacy, ประสิทธิภาพ, Acceptability, Nicotine, Withdrawal symptoms, การยอมรับ, นิโคติน, อาการถอนยา