ภาวะซึมเศร้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร
ณิชาภัทร รุจิรดาพร*, อุมาพร ตรังสมบัติ
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพี่อศึกษาความชุกและปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานครวิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 1,700 คน สุ่มจาก 10 โรงเรียนด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดอาการซึมเศร้า CES-D (Center for Epidemiologic Studies-Depression scale) ฉบับภาษาไทยผลการศึกษา: พบว่า นักเรียนที่มีอาการซึมเศร้าในระดับที่มีความสำคัญทางคลินิก (CES-D เท่ากับ 22 ขึ้นไป) มีร้อยละ 17.4 การวิเคราะห์ปัจจัยด้านจิตสังคมพบว่ากลุ่มที่มีอาการซึมเศร้ามีปัญหาทางจิตสังคมสูงกว่าอีกกลุ่มหนึ่งในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ผลการเรียน สถานภาพสมรสของบิดามารดา ปัญหาการเงินในครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับบิดามารดา ปัญหาสุขภาพจิตของบิดามารดา การสูญเสียในชีวิต ความสัมพันธ์กับพี่น้องและความสัมพันธ์กับเพื่อน ผลการวิเคราะห์ความถดถอยลอ       จิสติกพบว่า ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ผลการเรียนต่ำกว่า 2.00 ปัญหาการเงินในครอบครัว ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับมารดา มารดามีปัญหาสุขภาพจิต มีการสูญเสียครั้งสำคัญในชีวิต และความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับเพื่อน (p<0.05)สรุป: อาการซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่สำคัญในเด็กนักเรียนมัธยมปลาย การจัดให้มีบริการปรึกษาแนะแนวสำหรับนักเรียน การให้ความรู้แก่ครูอาจารย์เกี่ยวกับอาการซึมเศร้าและการเสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง เป็นวิธีจะช่วยลดความรุนแรงของปัญหานี้ได้ 
ที่มา
วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2552, October-December ปีที่: 54 ฉบับที่ 4 หน้า 337-346
คำสำคัญ
Depression, ภาวะซึมเศร้า, Senior high school students, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย