ประสิทธิผลของการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการลดปัญหาการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุราที่ได้รับการติดตามทุก 2 และทุก 4 สัปดาห์
ลัดดาวัลย์ พิบูลย์ศรี, วงเดือน สุนันต, สุนทรี ศรีโกไสย*, อรอุมา ภูโสภา, อังคณา สารคำ, เขมา ตั้งใจมั่น
Suan Prung Psychiatric Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการลดปัญหาการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุราระหว่างกลุ่มที่ได้รับการติดตามทุก 2 สัปดาห์ และกลุ่มที่ได้รับการติดตามทุก 4 สัปดาห์วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกแบบ single blinded clinical trials กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคติดสุราที่มารับบริการ ณ คลินิกบำบัดสุรา โรงพยาบาลสวนปรุง คัดเลือกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบจับฉลากแบบไม่แทนที่ เพื่อคัดเลือกเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 28 ราย เพื่อติดตามทุก 4 สัปดาห์ จำนวน 4 ครั้ง และกลุ่มควบคุมจำนวน 24 ราย เพื่อติดตามทุก 2 สัปดาห์จำนวน 4 ครั้ง โดยจัดให้ทั้ง 2 กลุ่มมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน และแต่ละกลุ่มจะได้รับการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ 5 ระยะ รวบรวมข้อมูลการลดปัญหาการดื่มสุรา 5 ด้าน โดยใช้แบบประเมินความสามารถในการทำหน้าที่โดยรวม (Global Assessment of Function) ร้อยละของจำนวนวันที่ดื่มหนัก ร้อยละของจำนวนวันที่หยุดดื่ม แบบวัดระดับความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและความต้องการการรักษา (Stages of Change Readiness and Treatment Eagerness Scale) และผลการประเมินการเปลี่ยนแปลงการทำงานของตับ (Gamma-glutamyl transferase) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา Independent t-test, Mann-Whitney U test, และ Friedman testผลการศึกษา: กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีการลดปัญหาการดื่มสุราทั้ง 5 ด้าน ไม่แตกต่างกัน แต่ภายในกลุ่มควบคุมพบว่าการลดปัญหาการดื่มสุราทั้ง 5 ด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนภายในกลุ่มทดลองพบว่ามีการลดปัญหาการดื่มสุราจำนวน 4 ด้าน ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนด้านการเปลี่ยนแปลงการทำงานของตับไม่มีความแตกต่างกันสรุป: การนัดหมายให้ผู้ป่วยมารับการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ 4 สัปดาห์ต่อครั้ง สามารถเป็นทางเลือกที่ให้ประสิทธิผลต่อการลดปัญหาการดื่มสุราของผู้ป่วยได้ แต่ผลการประเมินการเปลี่ยนแปลงการทำงานของตับสะท้อนให้เห็นว่า การบำบัดทุก 2 สัปดาห์ให้ประสิทธิผลการหยุดดื่มสุราได้อย่างต่อเนื่องมากกว่า
ที่มา
วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2552, 259-272 ปีที่: 54 ฉบับที่ 3 หน้า 259-272
คำสำคัญ
effectiveness, ประสิทธิผล, Alcohol dependent patient, Alcohol drinking problems, Motivational enhancement, การเสริมสร้างแรงจูงใจ, ปัญหาการดื่มสุรา, ผู้ป่วยโรคติดสุรา