ผลของวิธีเบ่งแบบควบคุมกับวิธีเบ่งแบบธรรมชาติต่อความเหนื่อยล้าและความเจ็บปวดฝีเย็บในระยะหลังคลอดและความพึงพอใจต่อการคลอด
นิตยา สินสุกใส, มณีวรรณ ยุระชัย*, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, เอมพร รตินธร
Kutbak Hospital, Sakolnakorn Province
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของวิธีเบ่งคลอดแบบธรรมชาติ กับแบบควบคุม ต่อความเหนื่อยล้าในระยะ 2 ชั่วโมง และ 12-24 ชั่วโมงหลังคลอด ความเจ็บปวดฝีเย็บในระยะ 12-24 ชั่วโมงหลังคลอด ความเจ็บปวดฝีเย็บในระยะ 12-24 ชั่วโมง และ 1 สัปดาห์หลังคลอด และความพึงพอใจต่อการคลอดรูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาแบบทดลองแบบสุ่มเข้ากลุ่มวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ปกติที่กำลังจะให้กำเนิดบุตรคนแรก จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการสนับสนุนให้แบ่งแบบธรรมชาติ ในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการสนับสนุนให้เบ่งตามควบคุมซึ่งเป็นวิธีเบ่งที่ใช้เป็นประจำในห้องคลอด ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดความเหนื่อยล้าในระยะหลังคลอด แบบวัดความเจ็บปวดฝีเย็บและแบบวัดความพึงพอใจต่อการคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนด้วยการทดสอบค่าทีผลการวิจัย: พบว่าคะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าของกลุ่มทดลองทั้งในระยะ 2 ชั่วโมง และ 12-24 ชั่วโมงหลังคลอด ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (t = -2.933, p< .01 และ t = -2.907, p<.01 ตามลำดับ) คะแนนเฉลี่ยของความเจ็บปวดฝีเย็บของกลุ่มทดลองทั้งในระยะ 12-24 ชั่วโมง และ 1 สัปดาห์หลังคลอด ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -2.59, p<.01 และ t = -4.59, p<.001 ตามลำดับ) นอกจากนี้กลุ่มทดลองยังมีความพึงพอใจต่อการคลอดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.12, p< .01)สรุปและข้อเสนอแนะ: วิธีเบ่งแบบธรรมชาติอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่ควรสนับสนุนให้นำมาใช้ในการดูแลผู้คลอดในระยะที่สองของการคลอด
ที่มา
วารสารพยาบาลศาสตร์ ปี 2552, September-December ปีที่: 27 ฉบับที่ 3 หน้า 27-36
คำสำคัญ
Perineal pain, Childbirth satisfaction, Directed pushing, Fatique, Spontaneous pushing, ความพึงพอใจต่อการคลอด, ความเจ็บปวดฝีเย็บ, ความเมีอยล้า, วิธีเบ่งแบบควบคุม, วิธีเบ่งแบบธรรมชาติ