ความคุ้มค่าของการให้รังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัดเปรียบเทียบกับการให้รังสีรักษาอย่างเดียวในการรักษามะเร็งปากมดลูก
นพวรรณ แสนเจริญสุทธิกุล, ผกาภรณ์ พิศาลธุรกิจ, มานิต ศรีประโมทย์, ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล, สุมนมาลย์ มนัสศิริวิทยา*
Department of Obstetrics and Gynecology, Bangkok Metropolitan Administration Medical College and Vajira Hospital, Bangkok 10330, Thailand.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความคุ้มค่าของการรักษามะเร็งปากมดลูกเปรียบเทียบระหว่างการให้รังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัดและการให้รังสีรักษาอย่าเดียววัสดุและวิธีการ: แบ่งกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกเป็นกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด และกลุ่มที่ได้ รังสีรักษาอย่างเดียว แต่ ละกลุ่มจะมีโอกาสเกิ ดภาวะแทรกซ้ อน และอัตราการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งต่างกันแยกการคำนวณค่ารักษาออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ค่ารักษาโรคมะเร็ง ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการให้เคมี บำบัด และรังสีรักษาค่ารักษาภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ค่ารักษาเมื่อผู้ป่วยมีการกลับเป็นซ้ำของมะเร็ง และค่ารักษาในการตรวจติดตามผู้ป่วยทั้งนี้การคำนวณค่าใช้จ่ายในการให้รังสีรักษา และค่ายา รวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ จะใช้ค่าใช้จ่ายจริง (charges) ส่วนค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่าการให้บริการผู้ป่วยทั้งผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยในใช้ unit cost การมีชีวิตอยู่รอดของผู้ป่วยจะคิดเป็นเดือน โดยจะคำนวณเป็นเวลา 5 ปี หลังให้การรักษาครบผลการศึกษา: Cost effectiveness-ratio (CE ratio) ของกลุ่มที่ได้รับเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษาคิดเป็น 2,855 บาท และ 1,835 บาท ต่อการมีชีวิตรอด 1 เดือน สำหรับการให้เคมีบำบัดแบบผู้ป่วยใน และ ผู้ป่วยนอก ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มที่ให้รังสีรักษาอย่างเดียวนั้นมี CE ratio เท่ากับ 2,366 บาท ต่อการมีชีวิตรอด 1 เดือน เมื่อได้ทำ sensitivity analysis พบว่าถ้าอัตราการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งในกลุ่มที ่ได้เคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษาต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รังสีรักษาอย่างเดียวไม่ถึงร้อยละ 20 การให้รังสีรักษาอย่างเดียวจะคุ้มค่ากว่า แม้จะให้เคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอกสรุป: การให้รังสีรักษาอย่างเดียวจะมีความคุ้มค่ากว่าการให้เคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษาในการรักษามะเร็งปากมดลูกและแม้ว่าจะให้เคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก การให้ เคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษาจะคุ้มค่ากว่าก็ต่อเมื่ออัตราการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รังสีรักษาอย่างเดียวเกินกว่าร้อยละ 20
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2548, August ปีที่: 88 ฉบับที่ 8 หน้า 1035-1044
คำสำคัญ
cost-effectiveness, Cervical cancer, Chemoradiation, Cost-utility, Radiation