คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าภายหลังการรักษาด้วยกระบวนการจิตเวช 3 เดือน
รณชัย คงสกนธ์
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand. Phone: 0-2201-1098
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่ผ่านการรักษาด้วยกระบวนการจิตเวชระยะเวลา 3 เดือนและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการซึมเศร้าที่ดีขึ้นภายหลังการรักษา 3 เดือนกับคุณภาพชีวิตที่เปลี่ยนไป วัสดุและวิธีการ: ศึกษาโดยวิธีการพรรณนา ติดตามไปข้างหน้าระยะเวลา 3 เดือน โดยใช้เครื่องมือ HAM-D และ SF-36 ในการวัดอาการซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 96 ราย ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีการสูญเสียคุณภาพชีวิตที่ชัดเจน ภายหลังการรักษาด้วยกระบวนการจิตเวช 3 เดือน พบอัตราการตอบสนองต่อการรักษาร้อยละ 67.7 แต่ไม่พบมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างอาการซึมเศร้าที่ดีขึ้นกับคุณภาพชีวิต สรุป: โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ตอบสนองต่อการรักษาได้ดี แต่ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ยังคงมีอยู่ภายหลังการรักษา 3 เดือน ซึ่งต้องได้รับการดูแลในระยะยาว เพื่อการมีการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ 
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2548, September ปีที่: 88 ฉบับที่ 9 หน้า 1261-1266
คำสำคัญ
Depression, Quality of life, Clinical status, Functional status, Psychiatric care