การประเมินประสิทธิภาพของยา tranexamic acid และยาหลอกในการควบคุมภาวะเลือดออกจากการฉีดยาคุมกำเนิด DMPA
สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล, อาจรีย์ เส้นทอง*
Deapartment of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand. E-mail: ajaree_s@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพของยา Tranexamic acid และยาหลอกในการควบคุมภาวะเลือดออกจากการฉีดยาคุมกำเนิด depot-medroxyprogesterone acetate (DMPA)ชนิดของการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองสถานที่ทำการศึกษา: หน่วยวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์วัสดุและวิธีการศึกษา: ผู้มารับบริการฉีดยาคุมกำเนิด DMPA ที่หน่วยวางแผนครอบครัวที่มีภาวะเลือดออกทั้งหมด 100 คน จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยวิธีการสุ่ม, ผู้รับบริการจำนวน 50 รายที่ได้รับยา tranexamic acid 50 ขนาด 250 มิลลิกรัม เวลาเช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอนเป็นเวลา 5 วัน และผู้รับบริการที่ได้รับยาหลอกเป็นจำนวนทั้งหมด 50 ราย แต่มีผู้ออกจากการศึกษา 1 ราย เนื่องจากไม่ได้มาตรวจติดตามการรักษา โดยได้รับยาหลอกลักษณะเดียวกัน, ช่วงระยะเวลาที่ติดตามผู้รับบริการทุกคนจะต้องบันทึกภาวะเลือดออกในแต่ละวันว่าหยุดหรือไม่หยุด จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาร้อยละของจำนวนผู้รับบริการที่มีภาวะเลือดหยุดในสัปดาห์แรกและมีระยะเวลาที่เลือดออกหยุดติดต่อกัน ตั้งแต่ 20 วันขึ้นไปและวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยจำนวนวันที่มีเลือดออกในระยะเวลา 4 สัปดาห์ โดยการเปรียบเทียบในระหว่าง 2 กลุ่มผลการศึกษา: ร้อยละของผู้มารับบริการที่มีภาวะเลือดหยุดในสัปดาห์แรกหลังการรักษาและมีระยะเวลาที่เลือดหยุดติดต่อกันตั้งแต่ 20 วันขึ้นไปในกลุ่ม tranexamic acid สูงกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (88%, 8.2%; p < 0.05 และ68%, 0%; p < 0.05) และหลังจากการตรวจติดตามครบ 4 สัปดาห์หลังการรักษา ค่าเฉลี่ยจำนวน วันที่มีเลือดออก ในกลุ่ม tranexamic acid ต่ำกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (5.7 ±2.5, 17.5 ± 7.2 , p < 0.05)สรุป: ยา tranexamic acid มีประสิทธิภาพในการควบคุมภาวะเลือดออกจากการฉีดยาคุมกำเนิด DMPA มากกว่ายาหลอก
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2552, April ปีที่: 92 ฉบับที่ 4 หน้า 461-465
คำสำคัญ
Tranexamic acid, Uterine hemorrhage, Medroxyprogesterone 17-acetate