การทำคลอดรกโดยวิธีการปล่อยเลือดออกจากสายสะดือต่อระยะเวลาการคลอดรก
พิพัฒน์ จงกลสิริ*, ศักนัน มะโนทัย
Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University and Hospital, Bangkok 10330, Thailand. Phone: 0-2256-4241, Fax: 0-2254-9292. E-mail: md_piphat@yahoo.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงการทำคลอดรกโดยวิธีการปล่อยเลือดออกจากสายสะดือ ต่อระยะเวลาการคลอดรกและความปลอดภัย ในแง่ของการตกเลือดหลังคลอด รกค้าง การล้วงรก และ ความจำเป็นที่ต้องให้เลือดหลังคลอดวัสดุและวิธีการ: ในระยะที่สามของการคลอดหลังการคลอดทางช่องคลอด ได้แบ่งผู้คลอดเป็นกลุ่มศึกษา และกลุ่มควบคุมโดยการสุ่ม ในกลุ่มศึกษาทำการคลอดรกโดยการปล่อยเลือดออกจากสายสะดือ ในกลุ่มควบคุมไม่ได้มีการกระทำใด ๆ หลังจากนั้น ทั้งสองกลุ่มทำคลอดโดยวิธี Brandt-Andrews ภายหลังจากที่มีสัญญาณของรกลอกตัวแล้ว เปรียบเทียบระยะเวลาการคลอดรก อัตราการตกเลือดหลังคลอด รกค้าง การล้วงรก และความจำเป็นที่ต้องให้เลือดหลังคลอดในทั้งสองกลุ่มผลการศึกษา: 99 รายของผู้คลอดที่รกปกติ 49 รายในกลุ่มศึกษา และ 50 รายในกลุ่มควบคุม พบว่าระยะเวลาการคลอดรกในกลุ่มที่มีการปล่อยเลือดสั้นกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (5.1 ± 2.4 นาทีในกลุ่มปล่อยเลือดเทียบกับ 7.0 ± 6.1 นาทีในกลุ่มควบคุม) ไม่พบการตกเลือดหลังคลอด ภาวะมดลูกไม่หดรัดตัว ภาวะช็อค และความจำเป็นที่ต้องให้เลือดในทั้งสองกลุ่มสรุป: ระยะเวลาการคลอดรกสั้นลงในการทำคลอดรกโดยวิธีการปล่อยเลือดออกจากสายสะดือ วิธีการคลอดรกโดยวิธีนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัย และไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2552, April ปีที่: 92 ฉบับที่ 4 หน้า 457-460
คำสำคัญ
Placental cord drainage, Postpartum hemorrhage, Retained placenta, Third stage labour