การผสม fentanyl ร่วมไปกับการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง เพื่อป้องกันอาการสั่นในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
Oraluxna Rodanant, ธีรพล สมศิริ, วสินี เตชาวัฒนวิศาล, อัญชลี เตชะนิเวศน์*
Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine,Chulalongkorn University, King Chulalongkorn Memorial Hospital. Rama 4 Rd, Patumwan, Bangkok 10330, Thailand. Phone: 0-2256-4294, 0-2256-4295, 0-2256-4215, 0-2252-1699, Fax: 0-2256-4294, E-mail: ancharleenivate12@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าการผสม fentanyl ร่วมไปกับการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง สามารถป้องกันอาการสั่นในระหว่างการผ่าตัดและหลังผ่าตัดหรือไม่ และมีผลข้างเคียงอะไร วัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังโดยใช้ 0.5% bupivacaine 4 มล. ผสมมอร์ฟีน 0.2 มก. (0.2 มล.) จำนวน 60 ราย ผู้ป่วยทุกรายไม่มีข้อห้ามในการฉีดยาชา เข้าช่องไขสันหลังและไม่เคยมีประวัติแพ้ fentanyl, ยาชา หรือมอร์ฟีน ผู้ป่วยได้รับการอธิบายถึงการศึกษา และได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ป่วยถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่ม F จะได้รับ fentanyl 10 ไมโครกรัม (0.2 มล.) และกลุ่ม S จะได้รับ normal saline 0.4 มล. ร่วมไปทางช่องไขสันหลัง โดยวิสัญญีพยาบาลจะเป็นผู้ผสมยาให้และวิสัญญีแพทย์ผู้ซึ่งไม่ทราบว่าผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มใด จะเป็นผู้ที่ฉีดยาเข้าช่องไขสันหลัง ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่มีอาการสั่นภายหลังการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง 3 ชม. ใน กลุ่ม F น้อยกว่าในกลุ่ม S อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ 6 รายในกลุ่ม F (ร้อยละ 20) และ 15 รายในกลุ่ม S (ร้อยละ 50) โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ในทั้งสองกลุ่มเริ่มมีอาการสั่นในชั่วโมงแรกหลังการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง (5 รายในกลุ่ม F และ 13 ราย ในกลุ่ม S) ซึ่งในจำนวนดังกล่าวนี้พบผู้ป่วยจำนวน 4 รายในกลุ่ม S ที่อาการสั่นเกิดก่อนการคลอดของทารก และยังพบความรุนแรงของอาการสั่นในกลุ่ม F น้อยกว่าในกลุ่ม S อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบอาการสั่นรุนแรงมากต้องการยารักษาร้อยละ 16 ของผู้ ป่วยที่มีอาการสั่นทั้งหมดในกลุ่ม F และ ร้อยละ 26 ของผู้ป่วยที่มีอาการสั่นทั้งหมดในกลุ่ม S ไม่พบความแตกต่างของอาการข้างเคียงในทั้งสองกลุ่ม และไม่พบความแตกต่างของอุณหภูมิเฉลี่ยในทั้งสองกลุ่มตลอด 3 ชั่วโมงภายหลังการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง สรุป: การให้ fentanyl ร่วมไปกับการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ช่วยป้องกันอาการสั่นในช่วงระหว่างการผ่าตัดและช่วยลดความรุนแรงของอาการสั่นได้นาน 2 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2548, September ปีที่: 88 ฉบับที่ 9 หน้า 1214-1221
คำสำคัญ
Cesarean section, Fentanyl, Intrathecal opioid, Postoperative, Shivering