การประเมินประสิทธิภาพของยา celecoxib และยาหลอกในการควบคุมภาวะเลือดออกจากการใช้ยา ฝังคุมกำเนิด Jadelle®
กฤษณา บัวแสง*, สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล
Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University Bangkok 10330, Thailand
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพของยา celecoxib และยาหลอกในการควบคุมภาวะเลือดออกจากการใช้ยาฝังคุมกำเนิด Jadelle®ชนิดของการศึกษา: การศึกษาเชิงทดลองสถานที่ทำการวิจัย: หน่วยวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์วัสดุและวิธีการ: ผู้มารับบริการฝังยาคุมกำเนิด Jadelle® ที่หน่วยวางแผนครอบครัวที่มีภาวะเลือดออกจำนวนทั้งหมด 40 คน จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยวิธีการสุ่ม, ผู้รับบริการที่ได้รับยา celecoxib จำนวน 20 ราย โดยได้รับยาในขนาด 200 มิลลิกรัม วันละครั้งเป็นเวลา 5 วัน และผู้รับบริการที่ได้รับยาหลอกเป็นจำนวนทั้งหมด 20 ราย โดยได้รับยาหลอกในลักษณะเดียวกัน, ช่วงระยะเวลาที่ติดตามผู้รับบริการทุกคนจะต้องบันทึกภาวะเลือดออกในแต่ละวันว่าหยุด หรือ ไม่หยุด, อาการข้างเคียงจากการใช้ยา และความพึงพอใจในผลการรักษาผลการศึกษา: ร้อยละของผู้รับบริการที่มีภาวะเลือดหยุดในสัปดาห์แรกหลังการรักษาในกลุ่ม celecoxib สูงกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (70%, 0%; p < 0.001) ระยะเวลาที่เลือดหยุดติดต่อกันในช่วงเวลา 28 วัน ในกลุ่ม celecoxib สูงกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (24.0 ± 1.65, 10.0 ± 6.50 วัน; p < 0.001) ค่าเฉลี่ยจำนวนวันที่มีเลือดออกในกลุ่ม celecoxib ต่ำกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (5.0 ± 1.65, 19.0 ± 6.50 วัน; p < 0.001) ความพึงพอใจในผลการรักษาในกลุ่ม celecoxib สูงกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (80%, 30%; p < 0.001) และไม่พบผลข้างเคียงจากการใช้ยาจากทั้ง 2 กลุ่มสรุป: ยา celecoxib มีประสิทธิภาพในการควบคุมภาวะเลือดออกจากการใช้ยาฝังคุมกำเนิด Jadelle® มากกว่ายาหลอกกลไกของยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ในการลดเลือดออกน่าจะเกิดจากการยับยั้งเอนไซม์ ไซโคออกซิจิเนส-2
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2552, March ปีที่: 92 ฉบับที่ 3 หน้า 301-307
คำสำคัญ
Adverse effects, Contraceptive agents, Drug implants, Female, Pyrazoles, Sulfonamides, Uterine hemorrhage