การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างเจลพริกและเมทเทิลไซลิซาเลทเพื่อเป็นยาทาเสริมสำหรับการบำบัดอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง
คณิต ออตยะกุล*, สุมาลี ซื่อธนาพรกุล, ไกรวัชร ธีรเนตรDepartment of Physical Medicine and Rehabili tation, Rajavithi Hospital.e-mail: Kanit_a@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพด้านการลดอาการปวดของเจลพริกเปรียบเทียบกับเมเทิลซาลิไซเลท (พระมงกุฎเกล้าบาล์ม) เป็นยาเสริมเพื่อบำบัดอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง รูปแบบการวิจัย: Double-blinded, randomized controlled trialสถานที่ทำการวิจัย: แผนกผู้ป่วยนอก กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเหล้ากลุ่มประชากร: ผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังที่มีอาการมากกว่า 3 เดือน จำนวน 27 คน ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง สิงหาคม 2548 แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีการสุ่มวิธีการศึกษา: กลุ่มที่ 1 จำนวน 14 ราย รักษาโดยเจลพริก กลุ่มที่ 2 จำนวน 13 ราย รักษาโดย methyl salicylate ทายาบริเวณที่ปวดวันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ วัดผลโดย Short-form McGill Pain Questionnaire ฉบับภาษาไทย (Th-SF-MPQ) ก่อนและสัปดาห์ที่ 4 หลังให้การรักษา และระดับอาการปวด visual analog scale (VAS) ก่อนให้การรักษา, สัปดาห์ที่ 2 และ 4 หลังให้การรักษาผลการศึกษา: กลุ่มที่บำบัดด้วยเจลพริกมีอาหารปวดทุเลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งในส่วนของ Th-SF-MPQ (คะแนนรวมเฉลี่ย, p=0.002; ความรุนแรงอาการปวดขณะประเมินเฉลี่ย, p=0.015) ระดับอาการปวด (VAS) เฉลี่ย (p=0.019) และค่าต่างระหว่างก่อนและหลังการรักษาในส่วนของคะแนนรวม (p=0.01) และระดับอาการปวดก่อนและหลังรักษา 2 สัปดาห์ (p=0.01) ส่วนกลุ่มที่บำบัดด้วยโดย methyl salicylate มีอาการปวดทุเลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เฉพาะความรุนแรงอาการปวดปัจจุบันจากแบบประเมิน Th-SF-MPQ (p=0.047) เพียงอย่างเดียวสรุป: เจลพริกมีประสิทธิภาพ บรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังได้ดีกว่าเมเทิลซาลิไซเลท เมื่อนำมาใช้ร่วมกับการบำบัดด้วยวิธีการอื่น
ที่มา
เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ปี 2550, September
ปีที่: 17 ฉบับที่ 3 หน้า 91-95
คำสำคัญ
เจลพริก, Capsaicin, Chronic back pain, Methyl salicylate, ปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง, เมเทิลซาลิไซเลท