การศึกษาแบบสุ่มในการฉีดยาไดโคลฟีแนคเข้ากล้ามเพื่อลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดคลอด
จักรกฤษณ์ สุรการ*, เยื้อน ตันนิรันดร
Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand, 10330, Thailand. Phone: 08-9831-4084, E-mail:znop_py@hotmail.com
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการฉีดไดโคลฟีแนคเข้ากล้ามเนื้อเพื่อลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดคลอดรูปแบบการศึกษา: การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มผู้เข้าร่วมการศึกษา: หญิงตั้งครรภ์ครบกำหนด 80 รายที่นัดผ่าตัดคลอดที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในช่วงเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2551วัสดุและวิธีการ: หญิงตั้งครรภ์ครบกำหนด 80 รายได้รับการผ่าตัดคลอดโดยวิธีมาตรฐานและได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง (spinal block) และได้รับมอร์ฟีน 0.2 มิลลิกรัม เข้าช่องไขสันหลังร่วมด้วย และแบ่งกลุ่มการศึกษาโดยวิธีการสุ่มเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มทดลองได้รับการฉีดไดโคลฟีแนค 75 มิลลิกรัมเข้ากล้ามเนื้อ ทุก 12 ชั่วโมง 2 ครั้ง ถ้าทั้ง 2 กลุ่มมีอาการปวดจะได้รับยาแก้ปวดเพิ่มเติม (ทรามาดอล) ตามความต้องการของผู้ป่วยการวัดผล: จำนวนของผู้ที่ร้องขอยาแก้ปวดเพิ่มเติมในแต่ละกลุ่ม, ระดับความเจ็บปวด, ผลข้างเคียงของไดโคลฟีแนคและความพึงพอใจของผู้ป่วยในระยะ 48 ชั่วโมงหลังการผ่าตัดผลการศึกษา: จำนวนของผู้ที่ต้องการยาแก้ปวดเพิ่มเติมในแต่ละกลุ่ม, ระดับความเจ็บปวดในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและไม่พบผลข้างเคียงของไดโคลฟีแนค แต่ความพึงพอใจไม่แตกต่างในทั้ง 2 กลุ่มสรุป: การใช้ยาฉีดไดโคลฟีแนคเข้ากล้ามเนื้อเพื่อลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดคลอดสามารถลดการใช้ยาแก้ปวดเพิ่มเติมและระดับความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดได้โดยไม่พบผลข้างเคียง
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2552, June ปีที่: 92 ฉบับที่ 6 หน้า 733-738
คำสำคัญ
pain, Cesarean section, Tramadol, Postoperative, Diclofenac, Intramuscular, Injections, Pain measurement