การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโดยเภสัชกรในร้านยาชุมชน
จรรยา เกิดจันทึก, พยอม สุขเอนกนันท์*, ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ, มนสา สุนารัตน์, รจเรศ หาญรินทร์, วิลาสินี หิรัญพานิช, สุนันทา โอศิริ, สุรศักดิ์ ไชยสงค์Faculty of Pharmacy, Mahasarakam University, Mahasarakham, Thailand 44150. Phone: 043-754360, E-mail address: phayom.s@msu.ac.th
บทคัดย่อ
การบริบาลทางเภสัชกรรมของร้านยาชุมชนสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังยังเป็นบทบาทที่ไม่ชัดเจน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการมีส่วนร่วมของเภสัชกรประจำร้านยาในชุมชนต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มารับบริการติดตามที่ร้านยามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทำการศึกษาโดยสุ่มและทดสอบผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงก่อนและหลัง จำนวน 118 คน แบ่งเป็นสองกลุ่ม ได้แก่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จากวิธีการสุ่มได้ผู้ป่วยจำนวน 59 คนในกลุ่มทดลอง และจำนวน 59 คนในกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองมีเภสัชกรชุมชนเข้าร่วมในการรักษาโดยให้การบริบาลทางเภสัชกรรมคำปรึกษาเรื่องยา ความรู้ ติดตามโรคและการใช้ยา วัดผลลัพธ์ก่อนและหลังการติดตามระยะเวลา 6 เดือน จากค่าระดับความดันโลหิต จำนวนเม็ดยา การให้คำแนะนำปรึกษา และคุณภาพชีวิต ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยกลุ่มทดลองสามารถลดระดับความดันโลหิตได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าเฉลี่ยซิสโตลิก/ไดแอสโตลิกที่ลดลง 23.19/15.23 และ 15.75/11.11 มิลลิเมตรปรอท ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมตามลำดับ (p<0.05) อัตราการใช้ยาตามแพทย์สั่งในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลของคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นการประเมินสถานะสุขภาพตนเองในผู้ป่วยกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จดหมายแนะนำปรึกษาโดยเภสัชกรเกี่ยวกับการรักษาได้รับการยอมรับจากแพทย์ 67.64% จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าผู้ป่วยที่มีเภสัชกรเข้าร่วมในการรักษาความดันโลหิตสูงได้รับประโยชน์ที่สำคัญอย่างมากในการลดระดับความดันโลหิต เพิ่มอัตราการใช้ยาตามแพทย์สั่ง และเพิ่มคุณภาพชีวิตด้านประเมินสถานะสุขภาพ
ที่มา
วารสารออนไลน์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปี 2549, January-March
ปีที่: 25 ฉบับที่ 1 หน้า 46-53
คำสำคัญ
hypertension, Community Pharmacist, Pharmaceutical care, Pharmacy, การบริบาลทางเภสัชกรรม, ความดันโลหิตสูง, ร้านยา, เภสัชกรชุมชน