การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ 2.5% และ10% phenylephrine ในการขยายรูม่านตา
ยศอนันต์ ยศไพบูลย์, พัฒนารี ล้วนรัตนากร, เจษฎา นพวิญญูวงศ์Department of Ophthalmology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand. Phone: 0-4334-8383, Fax: 0-4334-8383, E-mail: yosanan@kku.ac.th
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการขยายรูม่านตาของ 2.5% และ 10% phenylephrine และศึกษาเปรียบเทียบผลข้างเคียงของการใช้ยาดังกล่าววิธีวิจัย : ศึกษาในผู้ป่วยที่มารับการตรวจตาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ป่วยได้รับการสุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับการหยอดยา 1% tropicamide และ 10% phenylephrine กลุ่มที่ 2 ได้ยา 1% tropicamide และ 2.5% phenylephrine ทำการวัดขนาดรูม่านตาก่อนและหลังหยอดยาวัดความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจทั้งก่อนและหลังหยอดยาผลการวิจัย : ผู้ป่วย 564 ราย ได้รับการสุ่มแบบ simple random sampling เป็นผู้ป่วยกลุ่มที่ 1: 293 ราย และกลุ่มที่ 2: 271 ราย ขนาดรูม่านตาเฉลี่ยของผู้ป่วยก่อนได้รับการหยอดยาในกลุ่มที่ 1 ตาขวาเท่ากับ 4.43±1.13 มม. และตาซ้าย เท่ากับ 4.31±0.95 มม. ส่วนในกลุ่มที่ 2 ตาขวาเท่ากับ 4.45±1.0 มม. และตาซ้ายเท่ากับ 4.32±0.92 มม. หลังได้รับการหยอดยาขนาดรูม่านตาเฉลี่ยของผู้ป่วยกลุ่มที่ 1 ตาขวาเท่ากับ 7.58±0.96 มม. และตาซ้ายเท่ากับ 7.60±1.03 มม. ส่วนในกลุ่มที่ 2 ตาขวาเท่ากับ 7.17±1.04 มม. และตาซ้ายเท่ากับ 7.07±1.06 มม. พบว่าค่าเฉลี่ยของขนาดรูม่านตาในกลุ่มที่ 1 มากกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างค่าเฉลี่ยความดันโลหิต systolic และ diastolic ของทั้ง 2 กลุ่ม แต่พบว่าค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจในกลุ่มที่ 1 มีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป : การหยอดยาขยายรูม่านตาด้วย 1% tropicamide ร่วมกับ 10% phenylephrine มีประสิทธิภาพมากกว่า การใช้ 1% tropicamide ร่วมกับ 2.5% phenylephrine อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตหลังหยอดยาไม่แตกต่างกัน
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2547, November
ปีที่: 87 ฉบับที่ 11 หน้า 1380-1384
คำสำคัญ
Phenylephrine, dilation, effect, Pupillary, Side