การรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันด้วยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดเปรียบเทียบกับการให้ยาละลายลิ่มเลือด
วิวรรณ ทังสุบุตร, ดำรัส ตรีสุโกศล, รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์, ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน, เรวัตร พันธุ์กิ่งทองคำ, ชุณหเกษม โชตินัยวัตรกุล
Her Majesty's Cardiac Center, 9th floor, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital Bangkok 10700, Thailand. Phone: 089-204-1853, Fax: 0-2412-7412, E-mail: siwts@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ
ภูมิหลัง: การรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันด้วยการเปิดหลอดเลือด สามารถทำได้ ด้วยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด หรือ ด้วยการใช้ยาละลายลิ่มเลือดวัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลการรักษาทั้งสองวิธีวัสดุและวิธีการ: เป็นการเก็บรวบรวมทะเบียนผู้ป่วยแบบไปข้างหน้าของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST segment ยกในโรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2545 ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2547 เพื่อเปรียบเทียบผลของการรักษาขณะผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลผลการศึกษา: ในผู้ป่วยจำนวน 234 รายที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST segment ยกนั้น มี 146 รายที่ได้รับการรักษาด้วยการเปิ ดหลอดเลือด 91 รายได้ รับการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด ส่วนอีก 55 ราย ได้ รับยาละลายลิ่มเลือด ในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด 93% ได้รับยา streptokinase และ 21.6% ได้รับการทำบอลลูนขยายแบบ rescue angioplasty ผู้ป่วยทั้งสองวิธีการรักษามีลักษณะทางคลินิกคล้าย ๆ กัน ทั้งสองกลุ่มเป็นเบาหวานบ่อย (บอลลูน 44.2% เทียบกับยาละลาย 39.6%, p = 0.6) ภาวะช็อกจากหัวใจไม่แตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม อัตราการเสียชีวิตในทั้งสองวิธีการรักษาไม่แตกต่างกัน (บอลลูน 14.3% เทียบกับยาละลาย 10.9%, p = 0.56) ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้ยาละลายลิ่มเลือดพบแนวโน้มการเกิดผลแทรกซ้อนมากกว่า ได้แก่ ภาวะเลือดออกที่อันตราย (บอลลูน 6.6% เทียบกับยาละลาย 16.4%, p = 0.06) และโรคหลอดเลือดสมอง (บอลลูน 2.2% เทียบกับ ยาละลาย 7.3%, p = 0.13)สรุป: การรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันสามารถทำได้ด้วยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด หรือด้วยยาละลายลิ่มเลือดโดยอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยการทำบอลลูนอาจปลอดภัยกว่าในผู้ป่วยที่ มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก หรือเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
ที่มา
วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ปี 2550, April ปีที่: 90 ฉบับที่ 4 หน้า 672-678
คำสำคัญ
Acute, angioplasty, coronary, infarction, myocardial, Primary, syndrome, Thrombolysis