ผลของ Dexamethasone ต่อการลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทอนซิลโดยวิธี Electrocautery dissection
พิมพ์เพชร สุขุมาลไพบูลย์
Department of Otolaryngology, Sawanpracharak Hospital, Nakorn Sawan
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการใช้ยา dexamethasone ต่อการลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทอนซิลโดยวิธี electrocautery dissectionสถานที่ศึกษา: กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์รูปแบบการวิจัย: การศึกษาวิจัยไปข้างหน้าแบบแรนดอมไมส์กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทอนซิลโดยวิธี electrocautery dissection ตั้งแต่ มกราคม 2551 ถึงธันวาคม 2551 จำนวน 45 คน กลุ่มศึกษาคือผู้ป่วยที่ได้รับ dexamethasone ทางหลอดเลือดดำก่อนผ่าตัด 22 คน และกลุ่มควบคุมคือผู้ป่วยที่ไม่ได้รับ dexamethasone จำนวน 23 คนวิธีการศึกษา: แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีการสุ่ม บันทึกข้อมูลและศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลต่อไปนี้ ได้แก่ อายุ น้ำหนัก เพศ ชนิดของการผ่าตัด ปริมาณของ dexamethasone ที่ให้ ระยะเวลาที่ทำผ่าตัด อาการคลื่นไส้และอาเจียน อาการไข้ ภาวะเลือดออกหลังผ่าตัด และอาการเจ็บปวด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test และ Chi-square test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ P< 0.05ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่มที่ใช้ dexamethasone พบอาการคลื่นไส้ร้อยละ 9.1 กลุ่มไม่ใช้ dexamethasone พบร้อยละ 39.1 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.019) สำหรับอาการอาเจียน พบว่าผู้ป่วยกลุ่มใช้ dexamethasone มีอาการอาเจียนร้อยละ 9.1 กลุ่มไม่ใช้ dexamethasone มีอาการอาเจียนร้อยละ 30.4 แต่ไม่แตกต่างทางสถิติ อาการไข้ ผู้ป่วยกลุ่มใช้ dexamethasone พบร้อยละ 36.4 และกลุ่มไม่ใช้ dexamethasone พบร้อยละ 81.8  เปรียบเทียบพบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.002) ภาวะเลือดออกหลังผ่าตัดใน 8 ชั่วโมงแรก กลุ่มใช้ dexamethasone พบร้อยละ 40.9 กลุ่มไม่ใช้ dexamethasone พบร้อยละ 43.5 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ภาวะเลือดออกหลังผ่าตัด ภายหลัง 8 ชั่วโมงแรก กลุ่มที่ใช้ dexamethasone พบร้อยละ 13.6 กลุ่มไม่ใช้ dexamethasone พบร้อยละ 26.1 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ไม่มีผู้ป่วยที่ต้องกลับเข้าห้องผ่าตัดเพื่อห้ามเลือดหลังการผ่าตัดเนื่องจากเลือดออก  และผู้ป่วยกลุ่มที่ใช้ dexamethasone มีคะแนนความเจ็บปวดสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ dexamethasoneสรุป: การให้ dexamethasone ทางหลอดเลือดดำก่อนผ่าตัดทอนซิลโดยวิธี elcetrocautery tonsillectomy ขนาด 0.12-0.25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถลดอาการคลื่นไส้และอาการไข้หลังผ่าตัดในช่วงวันแรกหลังผ่าตัดได้อย่างมีนัยสำคัญ
ที่มา
สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร ปี 2552, Januray-April ปีที่: 6 ฉบับที่ 1 หน้า
คำสำคัญ
Tonsillectomy, electrocautery, dexamethasone, Morbidity, Preoperative, การผ่าตัดทอนซิล, การเผาจี้ด้วยไฟฟ้า, ภาวะแทรกซ้อน, ระยะก่อนผ่าตัด, เด็กซาเมทาโซน